คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรนารถ เล้าอติมาน โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2552 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 460 คน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังและอัมพาต-อัมพฤกษ์ ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF-THAI) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้คือ คุณภาพชีวิตโดยรวมคะแนนเท่ากับ 74.75 คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง องค์ประกอบด้านสุขภาพกาย องค์ประกอบด้านจิตใจ องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม คะแนนเท่ากับ 21.88, 18.39, 21.7 ตามลำดับ และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ส่วนองค์ประกอบด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีคะแนนเท่ากับ 12.78 คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี สำหรับคุณภาพชีวิตรายข้อพบว่าระดับคุณภาพชีวิตที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคะแนนที่ได้ 2.03 ได้แก่ความรู้สึกเหงา เศร้า หดหู่สิ้นหวัง และวิตกกังวลระดับคุณภาพชีวิตรายข้อที่ได้คะแนนมากที่สุดคะแนนที่ได้ 4.32ได้แก่ ความพอใจกับบริการสุขภาพที่ไปใช้บริการรักษาพยาบาล สำหรับข้อเสนอแนะคือโรงพยาบาลสารภีและหน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่งควรให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งระดับบุคคลและครอบครัว ส่วนการดูแลระดับชุมชนค่อนข้างเข้มแข็งควรคืนข้อมูลให้กับชุมชนและท้องถิ่นต่อไป

References

อาภรณ์พรรณ สุนทรจตุรวิทย์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2546. หน้า 13.

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. คุณภาพชีวิต. สารศิริราช. 2549; 3: 279-281.

สุดใจ สมิทธิการ. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541. หน้า 10.

โรงพยาบาลสารภี. วิสัยทัศน์. ใน: เอกสารผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อและงานเยี่ยมบ้าน ปี 2552. เชียงใหม่, 2552. หน้า 2-7.

สำนักการพยาบาล. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพานิชย์; 2547: หน้า 46.

อรุณี ศิริกังวานกุล. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สารสารกรมการแพทย์. 2545; 27: 239-247.

กาญจนศรี สิงห์ภู่, สมศักดิ์ เทียมเก่า, ชูศรี คูชัยสิทธิ์, สุกานดา อริยานุชิตกุล, ศศิธร แสงพงศานนท์, สุพจน์ คำสะอาด, วาสนา จันทะชุม. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนอกโรคเลือดสมองที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. จดหมายเหตุทางการแพทย์. 2552; 92: 1602-1609.

ทัศนีย์ จินางกูร. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายล้มเหลวเรื้อรังที่รักษาด้วยการล้างท้องแบบถาวร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2530. หน้า 14.

จีรนุช สมโชค. ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540. หน้า 85.

สมสุข สิงหาปัญจนที. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540. หน้า 93.

คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีกาขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้องต่อเนื่อง. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร. 2550; 25: 171-177.

ดรุณี จันทร์เลิศฤทธิ์. รวมงานวิจัยคุณภาพชีวิต. 2010. Available from: http://www.tnnanurse.org/th/index/php. Accessed March 14, 2010.

พัทธ์ปิยา สีระสาพรม ณัฐเศรษฐ มนมนากร, เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าและใต้เข่า. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2552; 20: 4-9.

Kusman Ibrahim, Sunuttra Taboonpong, Kittkorn Nilmanat. Coping and Quality of Life among Indonesians Undergoingg Hemodialysis. Thai J Nurs Res. 2009; 2: 109-114.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล, พีรพนธ์ ลือบัญธวัชชัย. คุณภาพชีวิตและปัจจัยทางจิตสังคมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2552; 54: 185-196.

วิจิตรา กุสุมภ์, นิตยา ลาภเจริญวงศ์. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนได้. วชิรเวชสาร. 2547; 48: 107-115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป