ผลของการเยี่ยมบ้านต่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ชรินทร์ ดีปินตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ดูแลตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวาน, การเยี่ยมบ้าน

บทคัดย่อ

                 การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีเป้าหมายที่สำคัญคือ ส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อให้ควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน ศึกษาเปรียบเทียบการควบคุมโรคเบาหวานก่อนการเยี่ยมบ้านและหลังการเยี่ยมบ้าน และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานต่อการเยี่ยมบ้าน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และใช้กระบวนการเยี่ยมบ้านตามแนวทางการเยี่ยมบ้านโรงพยาบาลท่าวังผา การเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ก่อนและหลังเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ simple pair t-test

                ผลการศึกษาพบว่า 1.) หลังการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นก่อนการเยี่ยมบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  2.) จากการศึกษาเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการเยี่ยมบ้านเฉลี่ย 168.5 มก./ดล. แต่ภายหลังการเยี่ยมบ้านกลุ่มตัวอย่างมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 141.53 มก./ดล.  3.) ความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่างต่อการเยี่ยมบ้านพบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านกริยามารยาทอ่อนโยน สนใจและตั้งใจฟัง เปิดโอกาสให้ซักถามและรับรู้ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว

                สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการเยี่ยมบ้านมีผลต่อความรู้ในการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากต่อการเยี่ยมบ้าน

References

จิตติวัฒน์ สุประสงค์สินและคณะ. โครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานหลักสูตรพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก.กราฟฟิคแอดเสอร์ไทซิ่ง: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2551.

พรพิไล วรรณสัมผัส. ผลการเยี่ยมบ้านต่อการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวาน สถานีอนามัยสิงห์ จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมสร้างแนวคิดและการปรับปรุงโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร 30 เม.ย.-2 พ.ค.51 [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Available from: http://bsris.swu.ac.th/health/doc/knowlege/self_care.pdf

สุนทร ตัณฑนันทน์และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์จำกัด: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2551.

สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. ความสามารถในการดูแลตนเองกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุเขตชนบทอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลชุมชน). ของแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยของแก่น; 2539.

อรสา พันธ์ภักดี. กระบวนการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.

อดิศัย ภูมิวิเศษ. ผลการเยี่ยมบ้านต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขมหาบัณฑิต.เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2537.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป