ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • ศิโรรัตน์ โชติกสถิต กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลระนอง
  • เสาวนีย์ พงผึ้ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลระนอง

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง ของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และยินดีเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 67 รูป โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ถึง 23 มิถุนายน 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง ผลการตรวจเลือด ปัสสาวะ การเอ็กซเรย์ปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.01

            ผลการศึกษา พบว่า พระสงฆ์มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 55.9 และ มีภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 22.1 มีความดันโลหิตปกติ ร้อยละ 55.2 ความดันโลหิตค่อนข้างสูง ร้อยละ 7.5 ระดับโคเลสเตอรอลผิดปกติ ร้อยละ 79.1 ระดับไตรกลีเซอไรด์ผิดปกติ ร้อยละ 17.9 ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ร้อยละ 79.1 ผลเอ็กซเรย์ปอดปกติ ร้อยละ 98.5 พระสงฆ์มีการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย 0.63) และ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.46) การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (r=0.492)

            จากผลการวิจัย พระสงฆ์จึงเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ควรได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งควรมีการศึกษาวิจัยในการหารูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์

References

ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก. วัดส่งเสริมสุขภาพ. 2551. Available from : http://20.157.71.172/homenew/index.php?option=com_content&task=view&id=107&Itemid=37, 2553.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ทุ่มงบกว่า 100 ล้าน พัฒนาสุขภาพพระสงฆ์ พร้อมผ่าตัดข้อเข่าเทียมฟรี 61 ข้อ. 2550. Available from: http://www.thaihed.com/hot_news/view.php?ID=614, 2553.

สุวัฒสัน รักขันโท, อเนก คงขุนทด และ สุมาลัย กาญจนะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของพนะภิกษุในเขตภาคใต้ตอนบน. ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2551

มานพ ศิริมหาราช. วอนงดของบาป เหตุพระอาพาธ. 2548. Available from: http://topicstock.pantip.com/releigious/topicstock/2007/06/T5497782/Y5497782.html, 2553.

ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, ปราณปรียา โคสะสุ และศิรดา ศรีโสภา. ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี. 2552. สุขภาวะของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. Available from: http://guideubon.com/news/view.php?t=115&s_id=472&d_id=472, 2553.

พิทยา จารุพูนผล. 2547. สุขภาวะของพระภิกษุสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ผู้จัดการออนไลน์ 2547. Available from: http://www.mamager.co.th, 2553.

สมจิตรา เหง้าเกษ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.

เนาวรัตน์ เจริญค้าและคณะ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษาสงฆ์ในประเทศไทย. 2546. Available from: http://www.ashthailand.or.th/th/content_image/activity/info%20on%20monk.doc?PHPSESSID=345aecdf4a3372a57c2c8elb3fddc453, 2553.

Puzinnian, 2552. การออกกำลังกายของพระสงฆ์. Available from:http://puzinnian.blogspot.com/2009/09/blog-post_992.html, 2553.

สุกัญญา จงเอกวุฒิ, เอก เกิดเต็มภูมิ และสำรอง คุณวุฒิ. 2548. โครงการวิจัยสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพระภิกษุตามแนวพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทอง. Available from: http://pubnet.moph.go.th, 2553.

ปิยมาภรณ์ นิ่มสุวรรณ. การรับรู้ภาวะสุขภาพและการปรับตัวของสตรีวัยหมดประจำเดือนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก, คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป