ผลการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร ของผู้ป่วยไตเรื้อรังในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ วิบูลสันติ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร, ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ, ผู้ป่วยไตเรื้อรัง, การล้างไตทางช่องท้อง

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลลำพูน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ถึง พฤศจิกายน 2553 จำนวน 64 ราย และสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องหยุดล้างไตทางช่องท้อง การศึกษานี้พบว่าหลังจากติดตามผู้ป่วยมี 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.19 เกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการที่ผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามเทคนิคและวิธีการดูแลตนเองและพบว่าเชื้อส่วนใหญ่เป็นเชื้อ Staphylococcus aureus ระยะเวลาของการเกิดการติดเชื้ออยู่ที่ 14.3 เดือนต่อ 1 ครั้ง สำหรับผลการรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องพบว่า มีผู้ป่วย 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.75 ยังคงรักษาด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง มี 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.75 ต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาเป็นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือ ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ร้อยละ 25 ดังนั้นการสอนเทคนิคและวิธีการที่ถูกต้องตลอดจนเน้นย้ำให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตามวิธีมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะเยี่ยบุช่องท้องอักเสบ และสามารถยังคงรักษาโดยวิธีล้างไตทางช่องท้องดิ้ย่างต่อเนื่อง

References

K-DOQI Clinical practice guideline for nutrition in chronic renal failure. Am J Kidney Dis 2005; 35 (suppl2):s 17-s 104.

Piraino, B. et al. Peritoneal dialysis-related infections recommendations: 2005 update. Penh Dial Int 2005; 25:107-31.

K/ DOQI Clinical practice guideline for Chronic Kidney Disease; Evaluation, Classification, and Strtification; Association of level of GER with complications in adults. Am J Kidney Dis. 2002; 39.

Hakim R, Ismai N. Indication for initiation of dialysis in chronic renal failure. Up to Date Version 15.1.

Levey AS Bosch JP, Lewis JB, Green T, Rogers N, Roth D. A more accurate method to estimate glomcrular filtration rate from serum creatinine. A new prediction equation. Modification of Diet in Renal Disease Study Group. Ann Intern Med 1999; 130: 460-70.

Holley HL, Piraino BM.. Complication of peritoneal dialysis and management. Setnin Dial 1990; 3: 245.

Clinical practice guideline for peritoneal dialysis adequacy. Am J Kidney Dis 2006; 48 Suppl 1: S98-129.

Tangcharoensathien V, et al. The vadility of a new practical quality of life measure in patients on renal replacement therapy. J Med Assoc Thai 2006; 89(Suppl.2): S207-17.

ศูนย์ล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว(องค์การมหาชน), ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การบำบัดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง (CAPD), Available from http://www.bp-pd.com/capd.html. Accessed 20 November,2010.

ทวี ศิริวงศ์. บรรนาธิการ.การล้างช่องท้องชนิดถาวี ทฤษฎีและเทคนิค, พิมพ์ครั้งที่ 1, ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยของแก่น; 2548: 115-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป