การระบาดของโรคติดเชื้อ Streptococcus suis serotype 2 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดือนมิถุนายน ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผู้แต่ง

  • สมอาจ วงศ์สวัสดิ์ โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคไข้หูดับ, โรคเตร็พโตคอกคัส ซูอิส, บริโภคเนื้อหมูดิบ

บทคัดย่อ

              เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2551 แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจอมทองได้รับผู้ป่วยสงสัยว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ Streptococcus suis จำนวน 2 ราย หลังจากนั้นอีก 4 วันมีผู้ป่วยซึ่งมาด้วยอาการปวดศีรษะ ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และสูญเสียการได้ยิน อีก 7 รายทาง Surveillance Rapid Team (SRRT) ของโรงพยาบาลจอมทอง และ SRRT ของงานระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ฝ่ายสนับสนุนวิชาการด้านควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกสอบสวนและควบคุมโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ยืนยันการวินิจฉัย และการระบาดของโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา ตามบุคคล เวลา และสถานที่ ค้นหาแหล่งโรค และช่องทางการแพร่กระจายเชื้อ และหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรค รวมถึงการศึกษาผลแทรกซ้อนของการติดเชื้อในผู้ป่วย โดยได้ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาในกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2551 โดยใช้แบบรายงานผู้ป่วยติดเชื้อ Streptococcus suis.(SSI) แบบสอบสวนกลุ่มโรคติดเชื้อ Streptococcus suis (SS2) พบผู้ปวย 62 รายในประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น 265 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 23.40 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 3.1: 1 พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 37.1 อายุเฉลี่ย 49.4 ปี อายุต่ำสุด 19 ปี สูงสุด 85 ปี มีอาชีพรับจ้างสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 64.5 ส่วนใหญ่มีประวัติการกินลาบดิบร้อยละ 69.4 และมีประวัติดื่มสุรา ร้อยละ 51.6 อาการจองผู้ป่วยพบสูงสุดคือ เวียนศีรษะร้อยละ 93.54 รองลงมาคือ ไข้ร้อยละ 83.9 ส่วนการได้ยินลดลงพบ ร้อยละ 24.4 มีลักษณะการระบาดแบบแหล่งโรคร่วม (Common Source Outbreak) พบผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 27 มิถุนายน 2551 รายสุดท้ายวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 พบผู้ป่วยสูงสุด วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ระยะฟักตัวสั้นที่สุด 1 วัน ระยะฟักตัวยาวที่สุด 9 วัน เฉลี่ย 2.4 วัน พบผู้ป่วยใน 5 ตำบล คือ สบเตี๊ยะ แม่สอย ข่วงเปา ดอยแก้ว และ บ้านหลวง โดยพบอัตราป่วยสูงสุดที่ตำบลสบเตี๊ยะ 326.98 ต่อแสนประชากร ผลการเพาะเชื้อจากเลือด น้ำไขสันหลังและน้ำที่ได้จากข้อ พบเชื้อ Streptococcus suis ชนิดสายพันธ์ 2 (Serotype 2) ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนและทำให้เกิดอาการที่รุนแรง จากการสอบสวนการระบาดครั้งนี้ ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน พบว่าการดื่มสุรา (OR = 6.03; 95% CI = 2.25<OR<10.15) และการซื้อเนื้อสุกรจากร้านค้าบางแห่ง (OR = 4.26; 95% CI = 1.15<OR<15.74) มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) การดำเนินการควบคุมป้องกันโรคด้านคนคือ จัดตั้ง war room เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนสำหรับการสนับสนุนด้านการรักษา ป้องกัน และควบคุมโรค ค้นหาผู้ป่วย ผู้สัมผัส ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ในด้านการบริโภคเนื้อหมูและเลือดหมูดิบ หรือ สุกๆ ดิบๆ ให้การดูแลด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ป่วยและญาติ ด้านสัตว์และสิ่งแวดล้อมโดยดำเนินการ สอบสวนโรค เพื่อหาแหล่งที่มาและขั้นตอนการเคลื่อนย้ายสุกร Swabs เขียงขายหมู ทำ Nasal Swabs และ Tonsil Swabs หมูจากฟาร์ม ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อในคอกพักสัตว์ และเสนอแนะให้โรงฆ่าสัตว์เทศบาลมีการดำเนินเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดในการนำสัตว์เข้ามาชำแหละ ได้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ไม่พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่ม แนวโน้มของการติดเชื้อ Streptococcus suis ที่ยังคงพบอยู่ สะท้องถึงพฤติกรรมการบริโภคเลือดและเนื้อสุกรดิบที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งควรจะทำการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนเลิกพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว

References

ชุษณา สวนกระต่าย, พรเพ็ญ พัฒนโสภณ, ศุภร ฟุ้งลัดดา, พรรณาธิการ. แนวทางการป้องกันควบคุม โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2550.

กิจจา อุไรรงค์. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส. แนวทางการวินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคสุกร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซต; 2535. หน้า 55-56.

Straw BE, Allake SD, Mengeling WL, Taylor DJ, editors. Disease of Swine. 86 Edition. Ames Iowa: Iowa State University Press; 1999: 563-73

Pearch B, Kristjansen P, Skadhauge KN. Group R Streptococcus pathogenic for man: Acta Pathol Microbial Scand 1968; 74: 69-76.

Yu H, Jing H, Chen Z, Zeng H, Zhu X, Wang H, eta,. Human Streptococcus suis outbreak, Sichuan, China. Emerging Infectious Disease 2006; 6: 914-20.

Suankratay C, Intalapaporn P, Nunthapisud P, Arunyingmongkol K, Wilde H. Streptococcus suis meningitis in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004; 35: 868-74.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แระทรวงสาธารณสุข. แนวทางป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อสเตร็พโคอกคัสซูอิส. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปภัมย์; 2550.

เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ประวิทย์ ชุมเกษียร. ข่าวการเกิดโรคในคนที่ติดต่อมาจากสุกรในสาธารณรัฐประชาชนจีน. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 29 ก.ค. 2548; 36(29): 501.4

นิรมล นาวาเจริฐ, ศรีทนต์ บุญญานุกูล. สรุปข้อมูลการตรวจการได้ยินในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ สเตรปโตคออคัสซูอิส ณ โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (เอกสารโรเนียว)

ไพบูลย์ โล่สุนทร, ระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550

ศุภชัย ฤกษ์งาม. แนวทางการสอบสวนทางระบาดวิทยา. กองระบาดวิทยา; 2536.

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. จดหมายข่าว [Online]. สืบค้นจาก:
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/chiangmai/pork%20lab.pdf, 17 กันยายน 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป