ปัจจัยโน้มนำต่อการเกิดโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ในจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • เจริญ สิทธิโรจน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ปัจจัยโน้มนำ, โรคติดเชื้อ Streptococcus suis, โรคสเตร็พโคคอกคัส ซูอิส

บทคัดย่อ

             การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยโน้มนำต่อการเกิดโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ในจังหวัดลำพูน เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม (Case-Control Study) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ Streptococcus suis กับผู้ป่วยด้วยอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอื่น ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 จำนวนกลุ่มละ 60 คน ด้วยแบบบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณรา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโน้มนำต่าง ๆ กับการติดเชื้อ Streptococcus suis โดยใช้ Fisher’s Exact Test และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ในจังหวัดลำพูนมี 3 ปัจจัย ได้แก่ เพศ (P=0.020) ประวัติการดื่มสุรา (P=0.000) และประวัติการป่วยเป็นโรคไต (P=0.004) เมื่อนำปัจจัยทั้ง 3 ตัว มาวิเคราะห์ด้วย Multiple Logistic Regression พบว่า มีเพียง 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคติดเชื้อ Streptococcus suis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Streptococcus suis เป็นเพศชายมากกว่ากลุ่มควบคุม 3.08 เท่า (OR=3.08, 95% CI = 1.30 ถึง 7.26) และเป็นผู้ที่ไม่มีประวัติการป่วยด้วยโรคไตมากกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อ (OR=16.7, 95% CI=2.0 ถึง 100.0) ตามลำดับ จึงควรมุ่มเน้นการรณรงค์ให้ลดการบริโภคเนื้อสุกรดิบในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพศชายเพื่อป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อ Streptococcus suis นี้ในอนาคต

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อ Streptococcus suis. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข, 2550.

เทพนิมิต จุแดง. ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.

นเรศฤทธิ์ ขัดทะสีมา และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อ Streptococcus suis กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา: รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ ปี 2550 ปีที่ 38 ฉบับที่ 23:3-9 มิถุนายน 2550: 393-398.

สุทิตย์ เสมอเชื้อ และ อนิรุธ เนื่องเม็ก. ระบาดวิทยาโรคติดเชื้อ Streptococcus suis จังหวัดพะเยา: แนวทางความร่วมมือในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคระหว่างสาธารณสุขและปศุสัตว์. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค, 2551.

สุภราภรณ์ เวียงแก้ว และคณะ. ศึกษาโรคติดเชื้อ Streptococcus suis: A Series of 41 cases from Chiang Mai University Hospital. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548.

อัจฉรา ฟองคำ และคณะ. ศึกษาสภาวการณ์ติดเชื้อ Streptococcus suis และปัจจัยที่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีอาการรุนแรงกับไม่รุนแรง และกลุ่มผู้ป่วยกับผู้ร่วมสัมผัสที่ไม่ป่วย จังหวัดลำพูน, 2550.

รายงานผู้ป่วยที่เสียชีวิต จากการติดเชื้อ Streptococcus suis จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย. J Med Assoc October 2001.

โรคติดเชื้อ Streptococcus suis โรคสำคัญที่ถูกหลงลืมในจังหวัดลำพูน จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2545.

อภิชาต กันธุ และคณะ. การศึกษาโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, ปีที่ 39 ฉบับที่ 28 กรกฎาคม 2551: 493-295.

Fongcom A, Pruksakorn S, Taravichifkol P, Yoonim N, Streptococcus suis Infection in northern Thailand. J Med Assoc Thai. 2001 Oct; 84(10): 1502-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป