รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษบ้านป่าติ้ว หมู่ 5 ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 3 ถึง 6 พฤษภาคม 2552

ผู้แต่ง

  • วิเชียร ศิริ โรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
  • วิเชียร ศรีวิชัย โรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสอบสวนโรค, อาหารเป็นพิษ, ซาโมเนลล่า

บทคัดย่อ

              การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษบ้านป่าติ้ว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค เพื่อศึกษาแนวทางระบาดวิทยาตามลักษณะบุคคล เวลา สถานที่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการแพร่ระบาดของโรคและเพื่อหาแนวทางในการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคเป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์แบบ Case- Control study ในกลุ่มผู้ป่วย 142 ราย ได้ทำการเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย ผู้ปรุง บริกรและภาชนะส่งตรวจเพาะเชื้อ รวมทั้งศึกษาวิธีการประกอบอาหารในงานเลี้ยง ผลพบผู้ที่ไปร่วมรับประทานอาหารโต๊ะจีนในงานพิธีมงคลสมรสที่บ้านป่าติ้ว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนเปา เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2552 มีอาการป่วยจำนวน 142 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.2 มีอายุต่ำสุด 2 ปี อายุสูงสุด 79 ปี (อายุเฉลี่ย 44.5 ปี) โดยมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะและมีไข้ ตามลำดับ ลักษณะของการเกิดโรคเป็นแบบแหล่งร่วม (Common source outbreak) โดยผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 2 พฤษภาคม 2552 เวลา 19.00 น. และรายสุดท้ายเริ่มป่วยวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เวลา 18.45 น. มัธยฐานของระยะฟักตัวเท่ากับ 13.6 ชั่วโมง พบผู้ป่วยกระจายอยู่ตามหมู่บ้านและอำเภอใกล้เคียง โดยบ้านหมู่ที่ 5 พบผู้ป่วยมากที่สุด จำนวน 46 ราย อัตราป่วย 8,712 ต่อประชากรแสนคน อาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้ คือ ข้าวผัดใส่ไข่ ที่รับประทานในมื้อเย็นในงานเลี้ยง โดยพบว่าผู้ป่วยมีประวัติการรับประทานข้าวผัดสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยป่วย 98.2 เท่า 95% confidence interval 11.2<OR<2221.2 (p value < 0.001) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบเชื้อ Salmonella group E ในผู้ป่วยจำนวน 7 ราย ผู้ปรุงอาหาร 3 ราย บริกร 1 รายและเขียง 2 ตัวอย่าง ส่วนตัวอย่างอาหารไม่ได้ส่งตรวจเนื่องจากถูกทิ้งไปทั้งหมด

            การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในอาหารที่ถูกนำมาเลี้ยงในงานเช่นกับที่พบในรายงานอื่น อาหารที่ปรุงถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานานก่อนนำมาบริการ ผู้สอบโรคได้ดำเนินการควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาด โดยการค้นหาผู้ป่วย ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนในด้านการสุขวิทยาส่วนบุคคล การสุขาภิบาลอาหาร และการขับถ่ายที่ถูกสุขาภิบาล พร้อมทั้งให้การรักษากลุ่มที่มีอาการป่วย รวมถึงการเฝ้าระวังโรค และประสานงานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน เพื่อดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่ หลังการดำเนินการดังกล่าวไม่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานระบาดวิทยา. กองระบาดวิทยา. 2535

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. คู่มือโรคติดต่อทั่วไป. 2538

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ. 2548

จรุง เมืองชนะ และคณะ. การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง 2539.

พจมาน ผู้มีสัตย์ และคณะ. การวินิจฉัยโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางการแพทย์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551

ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ. ความปลอดภัยของอาหาร. ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข คณะสัตวแทพย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549

สุริยะ คูหารัตน์. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์: กองระบาดวิทยา. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2542

กลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่. เอกสารประกอบการ ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่าย SRRT เขต 1 ปี 2551 วันที่ 14-15 สิงหาคม 2551 ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน เชียงใหม่, 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป