ผลการควบคุมคุณภาพภายนอก การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ของโรงพยาบาลในเขต 10 ปีงบประมาณ 2552

ผู้แต่ง

  • วรศักดิ์ สุทาชัย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การควบคุมคุณภาพภายนอก, การตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์, วัณโรค

บทคัดย่อ

           การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการดำเนินงานในการควบคุมวัณโรคโดยใช้สูตรยารักษาวัณโรคแบบช่วงสั้นภายใต้กลยุทธ์การใช้พี่เลี้ยงกำกับการกินยา DOTS (Directly Observed Treatment, Short Course) มาตั้งแต่ปี 2539 คุณภาพของการตรวจประจำวันได้รับการประเมินโดยระบบควบคุมคุณภาพภายนอกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2552 ด้วยเทคนิคการสุ่มตรวจที่มากพอในแต่ละชุด (Lot quality assurance sampling) แล้วตรวจสอบคุณภาพโดยอ่านผลซ้ำอีกครั้ง (Slide cross-check) ดำเนินการโดย ศูนย์วัณโรคเขต 10 แล้วรายงานผลตอบกลับแก่โรงพยาบาลภายในเขต หากมีข้อผิดพลาดก็ให้คำแนะนำถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ พร้อมกระตุ้นเตือนให้มีความระมัดระวังในการตรวจยิ่งขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดเพื่อพัฒนาคุณภาพผลการตรวจในแต่ละโรงพยาบาลจากนั้นทำการสรุปภาพรวมในรายจังหวัด ดูความผิดพลาด ดูแนวโน้มของการดำเนินคุณภาพทั้งปีที่อาจมีผลกระทบต่อการตรวจในอนาคต ผลการประเมินคุณภาพพบว่า ในจำนวนทั้งหมด 43 โรงพยาบาล ความสามารถในการผ่านเกณฑ์ประเมินโดยรวมทั้งปีทั้งหมด 39 โรงพยาบาล คิดเป็นผลสำเร็จของการผ่านการประเมิน 91% จำนวนโรงพยาบาลที่เหลือจำนวน 4 โรงพยาบาล ได้ส่งสไลด์ไม่ครบจำนวน 108 สไลด์ ทำให้ไม่สามารถประเมินคุณภาพในภาพรวมทั้งปีได้สำหรับโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์เมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่าการอ่านสไลด์ถูกต้องตรงกันร้อยเปอร์เซ็นต์จำนวน 12 โรงพยาบาล ผลการอ่าน 99% จำนวน 10 โรงพยาบาล 96-98 % จำนวน 11 โรงพยาบาล และที่ผลการอ่านสไลด์อยู่ในระดับ 90-95% จำนวน 6 โรงพยาบาล ส่วนความผิดพลาดที่พบเป็นผลลบปลอมชนิดมากอยู่ 12 โรงพยาบาลและผลบวกปลอมชนิดมากอยู่ 4 โรงพยาบาล ได้ทำตามคำแนะนำคือส่งบุคลากรเข้าอบรมแล้วในต้นปี 2553 จำนวน 5 โรงพยาบาล สรุปโดยรวมแล้วแม้ว่าผลการตรวจทุกแห่งจะผ่านเกณฑ์ซึ่งสะท้อนคุณภาพที่ดี แต่ควรใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น โดยเฉพาะผลการอ่านที่ยังผิดพลาดและเป็นชนิดลบปลอมชนิดมาก จะส่งผลต่อการแพร่กระจายเชื้อหรือประเมินผลการรักษาผิดพลาดได้ ควรระมัดระวังและปรับปรุงให้ดีขึ้น สำหรับผลบวกปลอมจะส่งผลให้มีการรักษาผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นจึงต้องตระหนักถึงผลกระทบให้มากกว่าผลลบปลอม ถ้ามีเกิดขึ้น ควรจะเฝ้าระวังพยายามปรับปรุงไม่ให้มีการผิดพลาดอีกโดยส่งบุคลากรเข้าอบรมฟื้นฟู หรือขอรับการนิเทศงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพหาสาเหตุความผิดพลาดเพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นต่อไป

References

Van Deun A, Roorda FA, Chambugonj N, Hye A, Hossain A. Reproducibility of sputum smear examination for acid – fast bacilli practical problems met during cross checking. Int J tuberc Lung Dis 1999; 3(9): 823-829.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klat J, Lwnga SK. Lot quality assurance sampling pp 24-28 in: Lemeshow S, Hosmer DW, Klat J, Lwnga SK. Adequacy of sample size in health studies. John Wiley&Sons (on behalf of WHO) 1990.

Lemeshow S, Taber S, Lot quality assurance sampling single and double plans. Wld hlth Statist Quar: 1991; 44(3): 115-132.

Aziz M.A., Ba F., Becx-Blecumink M., Brezel G., et al. External quality assessment for AFB microscopy. Washington DC: Association of public Health Laboratories (PHP, CDC, IUATLD, KNCV, RIT) 2002.Page 85-109.

Nguyen TNL, Wels CD, Binkin NJ, Beccera JE, Pham DL, Nguyen VC. Quality Control of smear microscopy for acid fast bacilli: the case for blinded. Int J Tuberc Lung Dis 1999; 3(1): 55-61.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; คู่มือประเมินตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ “ร้อยละของสถานบริการสาธารณสุขที่สามารถดำเนินงานวัณโรค ตามแนวทางการควบคุมวัณโรคแห่งชาติอย่างมีคุณภาพ” ปีงบประมาณ 2552: หน้า 10-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป