ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก: กรณีศึกษาโรงพยาบาลลี้จัง หวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สันติ วงศ์ฝั้น โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน
  • พิมพ์กานต์ ภัคดี โรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ผลการรักษา

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่มีการรักษาการส่งต่อและเสียชีวิต รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาในระยะเวลา 14 วัน และ ระยะเวลา 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน ไนช่วงวันที่ 1 กันยายน 2551 ถึง 31 พฤษภาคม 2553 จำนวน 52 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ตามผลการรักษาได้แก่กลุ่มผลการรักษาดี กลุ่มโอนออกโดยไม่ทราบผลการรักษา กลุ่มเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีผลเอกซเรย์ปอดเป็นบวก มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 60 mg/dl ผลการตรวจ anti HIV เป็นลบ และไม่มีโรคประจำตัว อัตราการโอนออกโดยผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์มักเกิดภายใน 6 เดือนหลังการรักษามากกว่าเกิดใน 14 วัน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกที่สำคัญในช่วง 14 วันคือ การมีระดับ albumin ที่ต่ำในขณะที่ช่วง 6 เดือนคือ การระดับ albumin ที่ต่ำและการมีน้ำหนักตัวที่มาก ส่วนปัจจัยเสี่ยงกับเสียชีวิตระยะเวลาภายใน 6 เดือนผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกคือน้ำหนักตัวที่ต่ำ ระดับ albumin ที่ต่ำ Hemoglobin ที่ต่ำ การที่มีอายุมากและการมีเสมหะพบเชื้อ

การศึกษาวิจัยโดยเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยที่ทำการศึกษาและศึกษาในภาพรวมทั้งจังหวัดทำให้ยืนยันผลลัพธ์การศึกษาที่ชัดเจนขึ้นและควรมีการพัฒนาแบบฟอร์มการพยากรณ์อัตราการเกิดผลลัพธ์ทางคลินิกและการเสียชีวิตโดยอาศัยข้อมูลที่สืบเนื่องจากผลการวิจัยอาจช่วยให้ผู้วางแผนการรักษาได้เฝ้าระวังผู้ป่วยแต่ละคนตามความเหมาะสมของระดับความรุนแรงได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550. Annual Epidemiological Surveillance Report 2007, 85-87.

งานควบคุมโรคติดต่อและระบาดวิทยา. รายงานประจำปี 2562. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน, 2552.

โรงพยาบาลลี้. รายงานประจำปี 2552. ลำพูน, โรงพยาบาลลี้ 2552.

นวลอนงค์ ลือกำลัง และคณะ. ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่อการตายในผู้ป่วยวัณโรคปอดพบเชื้อ โรงพยาบาลลำพูน, 2548.

World Health Organization. Global. Tuberculosis Control A SHORT UPDATE TO THE 2009 REPORT. Switzerland: WHO Press, World Health Organization, 2009.

Lee JJ. Treatment outcome of pulmonary tuberculosis in eastern Taiwan-experience at a medical center. J Formos Med Assoc – 01-JAN-2007; 106(1): 25-30.

Bao SQ. Treatment outcome of new pulmonary tuberculosis in Guangzhou, China 1993-2002: a register-based cohort study BMC Public Health – 01-JAN-2007; 7: 344.

Chiang CY. Tuberculosis outcomes in Taipei: Factors associated with treatment interruption for 2 monts and death. Int J Tuberc Lung Dis – 01-JAN-2009; 13(13): 105-11.

Shen X. death among tuberculosis cases in Shanghai, China: who is at risk? BMC infect Dis – 01-JAN-2009; 9: 95.

Amnuaiphon W. Factors associated with death among HIV-uninfected TB patients in Thailand, 2004-2006. Trop Med Int Health – 01-NOV-2009; 14(11): 1338-46.

Wang CS. The impact of age on the demographic, clinical, radiographic characteristics and treatment outcomes of pulmonary tuberculosis patients in Taiwan Infection – 01-AUG-2008; 36(4): 335-40.

Krapp F. Bodyweight gain to predict treatment outcome in patients with pulmonary tuberculosis in Peru Int J Tuberc Lung Dis – 01-OCT-2008; 12(10): 1153-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป