การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลอุโมงค์อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ นาคกลิ่นกูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • พนิดา รัชฎามาศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • นวลระหงษ์ ณ เชียงใหม่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยง, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเข้าเกณฑ์จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 25 คน และสมัครใจเข้ารับบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนกลุ่มในลักษณะชมรม เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามและบันทึกการตรวจร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ paired sample t – test

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 92 อายุเฉลี่ย 60.56 ปี มากที่สุดคือ อายุระหว่าง 60-64 ปี ร้อยละ 28 รองลงมาอายุระหว่าง 50 ถึง 54 ปี ร้อยละ 24 สถานภาพสมรสร้อยละ 56 รองลงมาหม้าย/หย่า/แยก ร้อยละ 32 การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 88 รองลงมาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 12 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 36 รองลงมาค้าขายและทำงานบ้านเท่ากันร้อยละ 24 ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ การรับรู้ที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิต สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับพฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหาร การปรุงอาหาร และการออกกำลังกาย ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม ช่วยให้กลุ่มเสี่ยงมีพัฒนาการในด้านความรู้ทัศนคติค่านิยมและพฤติกรรม ที่ยังเป็นปัญหาก่อให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถนำสิ่งที่ได้รับมาแก้ไขและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง เหมาะสม เกิดผลดีต่อสุขภาพ ที่จะป้องกันตนเองไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.ncd.ddc.moph.go.th (7 พฤษภาคม 2552)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน.การตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติรอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2552. (เอกสารอัดสำเนา)

จรัญ บุญฤทธิการ. การพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551; 973.

รัศมี ลือฉายและคณะ. บทคัดย่อผลงานวิชาการสาธารณสุข ประจำปี 2552 (วันที่ 20-23 มีนาคม 2552 ณ อิมแพ็คชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี) มีนาคม 2552 โรงพิมพ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ; 2553: 193.

ยุพิน ชัยชล. ผลของโปรแรมการส่งเสริมสุขภาพตนเองโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่. 2551
(Online) Available http://thesis.grad.chula.ac.th/abstracts/docs/4977598736.doc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป