ความชุกการติดเชื้อ HIV และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการ ติดเชื้อ HIV ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2552

ผู้แต่ง

  • ชลลิสา จริยาเลิศศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ชายรักชาย, ชายขายบริการ, รักสองเพศ, รักต่างเพศ, ความชุกเอชไอวี, เอดส์

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความชุกการติดเชื้อเอชไอวีและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ผลการสำรวจ การเฝ้าระวังความชุกการติดเชื้อเอชไอวีและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2552 จากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างจำนวน 700 คน ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยได้แก่ ชายรักชายทั่วไป ชายขายบริการ และชายแต่งหญิง

          ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีรสนิยมทางเพศทั้งรักเพศเดียวกัน รักสองเพศและรักต่างเพศ โดยชายขายบริการส่วนใหญ่เป็นรักสองเพศอยู่กินกับภรรยา อัตราการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอน แตกต่างตามเพศและสถานะของคู่ โดยคู่นอนที่เป็นชายและชายแต่งหญิงมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัย ระหว่างร้อยละ 43.7 - 64.7 ส่วนคู่นอนที่เป็นผู้หญิง อยู่ระหว่างร้อยละ 16.0 - 48.8 โดยมีการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนชั่วคราวมากกว่าคู่นอนเป็นคู่รัก ขายบริการ เป็นกลุ่มที่เข้าถึงการตรวจเลือด เข้าร่วมกิจกรรมด้านเอดส์ และมีความรู้ด้านเอดส์มากที่สุด ร้อยละ 39.4 เคยตรวจการติดเชื้อเอชไอวีมาก่อนแล้ว อัตราการติดเชื้อเอชไอวี เฉลี่ยทั้ง 3 กลุ่มเท่ากับ 9.1 ชายขายบริการมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูงสุดคือร้อยละ 14.0 รองลงมาคือชายรักชายทั่วไป ร้อยละ 7.5 และชายแต่งหญิง ร้อยละ 6.9 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ได้แก่ การใช้สารเสพติดใน 3 เดือนที่ผ่านมา การมีอาการกามโรคใน 3 เดือนที่ผ่านมา และจำนวนคู่นอนชายชั่วคราวใน 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนการประเมินความเสี่ยงตนเองต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ระดับความรู้เรื่องเอดส์ บทบาทเมื่อมีเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนชายชั่วคราว ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. รายงานความก้าวหน้าระดับประเทศตามปฏิญญาว่าด้วยพันธกรณีเรื่อง HIV/เอดส์. บริษัทเฟื่องฟ้าพริ้นติ้งจำกัด,2551

งานควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อ HIV จังหวัดเชียงใหม่.เฟื่องฟ้าการพิมพ์, 2551.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2550. แผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 - 2554. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2550

งานควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2550 - 2554. เฟื่องฟ้าการพิมพ์, 2550

สำนักจัดการความรู้กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย.เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติประจำปี 2551, 2551

สถาปนา เนาว์รัตน์, สามารถ ครุจิต, อัญชลี วรางค์รัตน์ และคณะ. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบวัน-เวลา-สถานที่ (Venue-Day-TimeSampling) ในการประเมินความชุกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในประเทศไทย. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2550; 38(1): 12 มกราคม 2550: 3-9.

สิทธิพันธ์ บุญญาธิสมภาร, รณภูมิ สมมัคคีคารมย์ และพิมพ์พวัลย์ บุญมงคล. ชีวิต ตัวตน และเรื่องเพศของสาวประเภทสอง. โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2551.

amfAR AIDS Research. MSM, I IIV, and the Road to Universal Access-How Far Have We Came? . Available. http://www.amfar.org/msnol. Last access: January 20, 2009.

RADAR Network State Center at Indiana University. Alcohol and high risk sexual behavior.Available. http://www.drugs.indiana.edu.publicationencdar/misc/alcrisk.html. Last access: January 20, 2009.

Vali Mayans, M., Escriba, J.M. Previous STI and risk of HIV infection in men. Available. http://wwvtcababstractsplus.org/abstracts/Abstract.aspx?AcNo=20033077069. Last access: January 20, 2009. http://www.amfar.org/msrn/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป