ระบาดวิทยาโรคหนอนพยาธิผ่านดินในพื้นที่ห่างไกลถิ่นทุรกันดารและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงแผนที่จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

Soil-transmitted Helminthiasis, remote areas, Geographic Information System, GIS

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิผ่านดินในพื้นที่ห่างไกลถิ่นทุรกันดารของจังหวัดเชียงใหม่และการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ พื้นที่ศึกษาจำนวน 15 หมู่บ้าน 10 อำเภอ ตัวอย่างในการศึกษานี้จำนวน 1,719 คน ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ โดยวิธีคาโต้ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง ธันวาคม 2550 

ผลการศึกษาพบความชุกการติดเชื้อหนอนพยาธิอ่านดินร้อยละ 53.5 (920/1,719) เป็นโรคพยาธิปากขอมากที่สุดร้อยละ 25.78 (443/1,719) รองลงมาได้แก่ โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิแส้ม้า คิดเป็นร้อยละ 23.95 (410/1,719) และ 13.88 (230/1,719) ตามลำดับอัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าสูงสุดในกลุ่มอายุ 15-19 ปีร้อยละ 59.62 อัตราความชุกของโรคต่ำสุดในกลุ่มอายุ 0-4 ปี ร้อยละ 34.51 อัตราความชุกโรคหนอนพยาธิไม่มีความแตกต่างระหว่างชายและหญิง (p>0.05) ในขณะที่กลุ่มอายุ เผ่าของชาวเขา และหมู่บ้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพื้นที่ กับโรคหนอนพยาธิผ่านดิน พยาธิปากขอพบความชุกสูงในโซนทางทิศเหนือ พยาธิไส้เดือนพบความชุกสูงในทางตอนใต้ และอำเภอที่อยู่ทางตอนกลางใกล้เมืองความชุกจะต่ำ แสดงภาพเป็นกราฟแท่งบนแผนที่ใน GIS การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่มีประโยชน์สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์ สภาพท้องถิ่นอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในพื้นที่จริงที่จะค้นหาตำแหน่งการติดเชื้อหนอนพยาธิ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนป้องกันควบคุมการแพร่เชื้อหนอนพยาธิผ่านดินได้ 

References

Monstresor A, Crompton DWT, Gyorkos TW, Savioli L. Helminth controls in school-age children 2002. WHO, Geneva

กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานควบคุมโรคหนอนพยาธิในพื้นที่เสี่ยงสูง โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2546:19-24.

อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร และ เฉลิม เครือสาร. ระบาดวิทยาของโรคหนอนพยาธิในชาวเขาไทยภูเขาในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยปี 2543. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด 2543.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่.รายงานประจำปีงบประมาณ 2547 งานควบคุมโรคหนอนพยาธิ, 2547.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่รายงานประจำปีงบประมาณ 2549 งานควบคุมโรคหนอนพยาธิ, 2549.

สรรค์ใจ กลิ่นดาว. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: หลักการเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. 2542.

Barry I Gamer, Qiming Zhou, Bruno P. Parolin. The application of GIS in the health sector: Problems and prospects [Homepage].
[Cited in 2000 Oct 10]. Available from: URL :http://www.odyssey.maine.edu/contents/proceeding/egis93.html

คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานครั้งที่ 9 (ThaiVCML2009) 19-21 พฤศจิกายน 2552.

อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร และ วรศักดิ์ สุทาชัย. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคหนอนพยาธิโดยวิธีคาโต้ (Kato's thick smcar). พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์จตุพร: เชียงใหม่; 2547.

ศูนย์สารสนเทศกรมการพัฒนาชุมชนมหาดไทย.คู่มือการจัดทำ GIS ด้วย Map Info Professional 7.0 (เอกสารอัดสำเนา)

Kamchai T. and Mongkolsawat C. (Assoc. Prof. Ph.D.); GIS Application for Aviann Influenza Surveillance : A Case Study in Khon Kaen Province.; Journal of Remote Sensing and GIS Association of Thailand., Vol.7 No 2 May-August 2006.

Tools customized data management and mapping tools[Serial online]. [2001 Sept 5]. Available from : URL: bttp://www.int/eme/pdfsftools.ruff

ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยจุฬาลงกรณ์พิมพ์พนัส วิมุกตายน การศึกษาการแพร่กระจายของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในเขตดุสิตโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แหล่งที่มา http://www.ssru.ac.th/major/bio/images/stories

วรรณวิภา มาลัยทองและคณะ. การศึกษาประสิทธิภาพของการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ณ บ้านทุ่งเหียง ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัย จ.ฉะเชิงเทรา. เวชสารแพทย์ทหารบก 2552: 62(1); 1-6.

Jarusin J., Pholpark M. and Mongkolsawat C. (Assoc. Prof. Ph.D.).2001; การทำแบบจอองเชิงพื้นที่ สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ โค-กระบือ; Journal of Remote Sensing and GIS Association of Thailand., Vol.2 No.1 January-April 2001.

Choosak Nithikathkula et.al. Enterobiasis infections among Thai school children: spatial analysis using a geographic information system. Asian Biomedicine Vol. 2 No. 4 August 2008; 283-288.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป