พฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยและมีความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมภาวะผู้นำ, ความพึงพอใจในงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยและความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลนครพิงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการจำนวน 214 คนได้มาโดยวิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ จากหอผู้ป่วยทุกแผนก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาความตรงตามเนื้อหา หาความเชื่อมั่นโดยนำไปทดลองใช้กับพยาบาลประจำการจำนวน 20 คน จากนั้นนำแบบสอบถามไปหาความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยประเมินตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลนครพิงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การท้าทายกระบวนการ การมีแรงดลใจในวิสัยทัศน์ร่วม การเพิ่มความสามารถให้ผู้อื่นปฏิบัติ การเป็นแบบอย่างการเสริมสร้างกำลังใจทั้งหมด อยู่ในระดับสูง (+S.D.=3.6+0.6, 3.6+0.7, 3.7+0.7 และ 3.6+0.7 ตามลำดับ) ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ในด้านภายนอก ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการมีส่วนร่วม และด้านภายใน พบว่ามีค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (+S.D.=3.6+0.6, 3.6+0.6, 3.6+0.7, 3.7+0.7 และ 3.6+0.7 ตามลำดับ) และพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการทั้งรายด้าน และภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.65)
ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เป็นข้อพิจารณาในการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการให้สอดคล้องกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป
References
นิตยา สง่าวงษ์ และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬงลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546; 15(2): 44-53.
Kouze & Posner, Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. The leadership challenge (2nd .ed.). Sanfrancisco: Jossey-Bass; 1995.
McNeese-Smith, D. Job satisfaction, productivity and organizational commitment. The result of leadership. JONA 1995; 25(9): 17-26.
Munson, F. C. & Heda, S. S. An instrument for measuring nursing satisfaction. Nursing research 1974; 23(2): 159-116.
Taunton, R. L., S. Kramppitz, & C. Wood.. Manager impact on Retention of Hospital Staff: Part! And Part2. Journal of Nursing Administration 1989; 19(3 and 4): 14-19, 15-19.
Weisman, C. S. & Nathanson, C. A. Professional satisfaction and clients outcomes. Medical Care 1985; 23, 1179-1192.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, รวิวัลย์ วงศ์ลือเกียรติ, บุญพิชชา จิตต์ภัคดี และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. พฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย ความพึงพอใจในงาน ผลิตภาพในงาน และการยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. เชียงใหม่: ภาควิชาการบริหาร การพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.
เมทินี จิตรอ่อนน้อม. ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ วิทยานิพนท์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
Maslow, A. H. Motivation and personality (2nd ed). New York: Harper & Row; 1970.