การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบยาที่ใช้รักษาและป้องกันการกลับเป็น Penicilliosis ซ้ำในผู้ป่วยเอดส์
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, ระบบยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ, เพนนิซิลิโอซิส, เอดส์บทคัดย่อ
ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรคเอดส์โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ที่มีผลจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ และหนึ่งในโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่สําคัญ และพบได้ บ่อยได้แก่การติดเชื้อรา Penicillium Marneffei อย่างไรก็ตาม การให้การรักษาและป้องกันการกลับเป้นซ้ำตามแนวทางมาตรฐานที่แนะนําโดย กระทรวงสาธารณสุขยังมีราคาแพง จึงมีความจําเป้นต็องหาสูตรยาที่ใช้แทนกันได้แต่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบยาที่.ชรักษาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อ Penicillium Marneffei วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองในผู้ป่วยเอดส์อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Penicilliosis ที่มา รับการรักษายังโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ระหว่าง มีค.43- มีค.44 โดยมีการคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบ Systemic random sampling กลุ่มศึกษาได้รับยา Amphotericin-B ทางหลอดเลือดดํานาน 2 สัปดาห์ต่อด้วย การรับประทานยา Ketoconazole นาน 1 ปีกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับยา Itraconazole ชนิดรับประทาน ตาม ขนาดต่าง ๆ ติดตามการดําเนินโรคและอัตราการเป็นกลับซ้ำของโรค ผลการศึกษาผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการกลุ่มๆละ 76 ราย รวม 152 รายการติดตามจนครบ 1ปีพบว่าผลการรักษาและการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของการรักษาทั้ง2 กลุ่ม ไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสําคัญทางสถิติโดยในกลุ่มศึกษามีการกลับเป็นซ้ำในระยะป้องกัน 3 รายคิดเป่น 4.5/100 .indd 1 8/10/2010 9:18:42 AM 2 ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ม.ค.-เม.ย. 2553 person-year สําหรับกลุ่มเปรียบเทียบ มีการกลับเป็นซ้ำตั้งแต่ระยะรักษา 1 ราย และระยะป้องกัน อีก 1 รายคิดเป็น 3.03/100 person-year วิจารณ์และสรุป อัตราการกลับเป็นซ้ำของการรักษา 2 แบบไม่แตกต่างกัน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในกลุ่ม ศึกษา ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบถึงกว่า 5 เท่า จึงควรพิจารณาใช้การรักษาด้วยสูตรยาในกลุ่มทดลองแทนมาตรฐานเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีทรัพยากรจํากัด
References
Segretain G. Penicillium Marneffei n.sp. agent dune mycose du systeme reticulo-endothelial. Mycopatho Mycol Appl 1959; 11:327-353
Jayanetra P, Nitiyanant P, Ajeillo L, et al. Penicilliosis marneffei in Thailand: report of five human cases. Am J Trop Med Hyg 1984; 33: 637-644.
http://203.157.45.99/datacenter/doc/gr_3/ฝ1-04-011-pdf
Chiewchanvit S, Mahanupab P, Hirunsri P and Vanitanakorn N. Cutaneous infestations of Penicillium Marneffei mycosis in five HIV-infected patients. Mycoses 1991; 245-249.
Supparatpinyo K, Chiewchanvit S, Hirunsri P, et al. Penicillium Marneffei infection in patients infected with human immunodeficiency virus. Clin Infect Dis 1992; 14: 871-874
Supparatpinyo K, Perriens J,Nelson KE, Sirisanthana T. A controlled trial of Itraconazole to prevent relapse of Penicillium Marneffei infection in patients infected with the human immunodeficiency virus. NEJM 1998;339 : 1739- 1743