การตรวจคัดกรองการติดเชื้อโรคซิฟิลิสด้วยวิธี TPHA ในผู้มารับบริการที่คลินิกศูนย์สาธิตบริการกามโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อังคนา พลภักดี ศูนย์สาธิตบริการกามโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรอง, ซิฟิลิส, TPHA

บทคัดย่อ

          โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตและมีความพิการ หากปล่อยให้มีการติดเชื้อเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอยู่ในระยะแฝง การตรวจคัดกรองโรคตามวิธีมาตรฐานคือ RPR ส่งผลให้ตรวจพบไตเตอร์ต่ำๆ หรือไม่ตรวจพบได้เลยในผู้ที่ติดเชื้อมานานๆ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทราบความชุกการติดเชื้อโรคซิฟิลิสของผู้มารับบริการที่คลินิกศูนย์สาธิตบริการกามโรค และผลของการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสด้วยวิธีTPHA ระหว่างเดือนตุลาคม 2548–ตุลาคม 2551จำนวน 1,880 คน โดยตัวอย่างเลือดทุกรายจะถูกทดสอบด้วยวิธี TPHA ก่อนโดยไม่ซ้ำกันและไม่รวมรายที่มา follow up หากรายใดที่ให้ผลบวกซีรั่มนั้นจะถูกนำไปทดสอบต่อด้วยวิธีRPRทั้งแบบคุณภาพและปริมาณตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่ามีผลบวกด้วยวิธีTPHA 82 คน จากจำนวนทั้งหมด1,880คน (ร้อยละ 4.4) เมื่อแยกตามกลุ่มผู้ที่มารับการตรวจรักษาพบว่า มีการติดเชื้อมากที่สุดในกลุ่มชายทั่วไป 36 คน จากจำนวน 212 คน (ร้อยละ43.90),หญิงมีเพศสัมพันธ์โดยได้รับค่าตอบแทน 26 คน จาก จำนวน1,336 คน (ร้อยละ 31.71),กลุ่มแม่บ้าน 12 คน จาก จำนวน 146 คน (ร้อยละ 14.63) และกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 8 คน จาก จำนวน 186 คน (ร้อยละ 9.76) ตามลำดับ จากผลบวกด้วยวิธีTPHAจำนวน 82 คน เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี RPRให้ผลลบ จำนวน 32 คน (ร้อยละ 39) ผลการศึกษาในจำนวน 32 คน พบว่า เป็นผู้ที่เคยได้รับการรักษาซิฟิลิสมาแล้วจำนวน 27 คน อีก 5 คนไม่เคยได้รับการรักษา แยกเป็นชายทั่วไป 4 คน และหญิงมีเพศสัมพันธ์โดยได้รับค่าตอบแทน 1 คน หากไม่ดำเนินการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีTPHAนั้น ก็จะไม่ทราบว่าทั้ง 5 คน มีการติดเชื้อซิฟิลิสเมื่อทั้ง 5 คนไปตรวจเลือดในสถานบริการสาธารณสุขที่ใดก็จะถูกตรวจคัดกรองด้วยวิธี VDRL หรือ RPR ทำให้ได้ผลเป็นลบ ผู้ป่วยทั้ง 5 คน จึงไม่ถูกวินิจฉัยและได้รับการรักษา ในที่สุด 2 ใน 3 ของผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิสอาจพัฒนากลายเป็นซิฟิลิสระยะที่ 3 ได้แก่ Neurosyphis,Cardiovascular Syphilis หรือ complication ในระบบอื่นๆได้ทั่วร่างกาย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็จะไม่สามารถให้การรักษาฟื้นฟูสภาพของอวัยวะให้ขึ้นมาเหมือนเดิมได้และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนความต่างการตรวจคัคกรองของทั้ง 2 วิธี โดยใช้วิธีTPHA แทน วิธีRPR ในจำนวน 1,880 คนนั้นพบว่า มีค่าใช้ จ่ายเพิ่มขึ้น 30,080 บาท ซึ่งถูกกว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคซิฟิลิสระยะที่ 3 หากเกิดความพิการหรือเสียชีวิต ก็นับว่าจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนี้ มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น TPHA จึงเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมเพื่อทดแทน RPR ในสถานการณ์ที่โรคซิฟิลิสมักอยู่ในระยะแฝงเรื้อรังและในขณะที่ชุดตรวจTPHA และ RPR มีราคาที่ไม่ต่างกันมากนัก

References

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักงานโรคเอดส์

วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. คู่มือการดำเนินงาน ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจ.เอส การพิมพ์;2548: 5-17.

อนุพงศ์ ชิตวรากร. Sexually Transmitted Disease.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่ง จำกัด; 2543: 375.

หัสดี อัพภาสกิจ. Clinical Serology. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์; 2538: 47- 8.

คมกฤช ศรีสรรพศิริกุล, โฆสิต ศรีเพ็ญ, จารุพร พรหมวงศ์ และคณะ. พยาธิวิทยาคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว; 2546: 37-8.

ภัทรชัย กีรติสิน. ตำราวิทยาแบคทีเรียการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.วี.เจ พริ้นติ้ง; 2549: 601-2.

กลุ่มงานพัฒนาเทคโนโลยี กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. คู่มือการชันสูตรโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงาน พุทธศาสนาแห่งชาติ; 2541: 22 – 8.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ พ.ศ.2550. พิมพ์ครั้งที่1.นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551: 26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป