การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีตำบลไชยสถานอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา จิงต๊ะ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์, สตรีเชียงใหม่

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีตำบลไชยสถาน อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ สตรีที่มีอายุ 20-60 ปีจำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ร่วมกับแบบทดสอบพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขององค์การอนามัยโลกแปลเป็นภาษาไทยโดยกรมสุขภาพจิต ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญ โดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.6 เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 75. 3 ดื่มครั้งแรกอายุระหว่าง 20 – 44 ปี เพราะอยากลองและเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น งานเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงสงกรานต์เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการดื่มต่อเดือนอยู่ในช่วง 100-500 บาท ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มมากที่สุดคือ เบียร์ ร้อยละ 67.9 มีพฤติกรรมการดื่มมีความเสี่ยงน้อย ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ อายุ ภาระหนี้สินและความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่สตรีในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น

References

World Health Organization. Global Starus Report onAlcohol 2004. Available from: http://www.who.int/substance_abuse/ publications/alcohol/en/index.html. Accessed April 5, 2009.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. “การสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุราและบุหรี่ของประชากร พ.ศ.2550”. สืบค้นจากhttp://service.nso. go.th/ nso/nso_center/ project/search_center/23project-th.htm. 5 เมษายน 2552.

เครือข่ายองค์กรวิชาการสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด“สถานภาพการบริโภคสุรา พ.ศ.2550 จากการสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศ” กรุงเทพ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา,2550.

ยงยุทธ ขจรธรรมและคณะ.ประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2547.

สำนักระระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. “การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์”. สืบค้นจากhttp://moph.go.th. 5 เมษายน 2552.

มูลนิธิเพื่อนหญิง ศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี. “ผลกระทบของสุราในฐานะปัจจัยร่วมการเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว”. สืบค้นจากhttp://www.friendsofwomen.or.th /aa_files/frame.htm.5 เมษายน 2552.

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลไชยสถาน . “สถานะสุขภาพของประชากรตำบลไชยสถาน” เอกสารบรรยายสรุป, 2552.

จินตนา คำแก่น. บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานบ้านดงขี้เหล็ก ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2548.

สริตา ธีระวัฒน์สกุล, จิราพร สุวรรณธีรางกูร, วราภรณ์ ปัญณวลี. การดื่มและมาตรการเพื่อลดการดื่มสุรา: กรณีศึกษา 2 ชุมชนภาคเหนือ. เอกสารเผยแพร่ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2549

ปรีชา ชินคำหาร. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานก่อสร้าง ในเขตอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน 22 (9) ; กรกฎาคม 2551.

สุปราณี สูงแข็ง.พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน จังหวัดอุดรธานี ปี 2552.รายงานการวิจัย สำ นักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี: 2552

ประภัสสร สุวรรณบงกช. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป