ผลของกระบวนการกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน, โรคเบาหวาน, น้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาผลของการรวมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการดูแลสุขภาพตนเอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่สถานีอนามัยแม่กุ้งหลวงจำนวน 48 รายเก็บรวบรวมข้อมูลบุคคลจากแฟ้มประวัติการรับบริการ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ป่วยที่ปฏิบัติตัวได้ดีและสามารถเป็นแบบอย่างของกลุ่มได้ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มสามารถให้คำปรึกษาแนะนำแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น จากผลการตรวจระดับน้ำตาลก่อนและหลังทำการศึกษา พบว่าผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 91.67 จากเดิมร้อยละ 56.25 และมีการควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้นร้อยละ 85.42 จากเดิมร้อยละ 72.92 แสดงให้เห็นว่าการรวมกลุ่มทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดการเรียนรู้ มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองจากการนำแบบอย่างผู้ที่ปฏิบัติตัวได้ดีมาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนโดยสมาชิกครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการดูแลสุขภาพ ทำให้มีกำลังใจ มีความตั้งใจที่จะรับการรักษาพยาบาล การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน กลุ่มช่วยเหลือแนะนำการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันจากประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง ทั้งด้านบวก ด้านลบนำมาเป็นบทเรียนและแนวทางการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพให้กับตนเองและผู้ป่วยอื่น
References
โรคติดต่อ สำนัก. รายงานประจำปี. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข, 2550.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานงานประจำปี 2550. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุข, 2550.
โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.โรงพยาบาลสันป่าตอง, 2551.
สถานีอนามัยแม่กุ้งหลวง. รายงานผลการดำเนินงานสาธารณสุข ประจำปี 2551. สถานีอนามัยแม่กุ้งหลวงตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่, 2551.
ลำยอง ทับทิมศรี. ผลของการสนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอารมณ์ต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน. เชียงใหม่ : การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
วินัย เภตรานุวัฒน์. ศึกษาผลการร่วมกิจกรรมกลุ่มต่อการควบคุมดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มี.ค.(ฉบับเสริม 3), 2551.
สมชาย พรหมจักร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโรงพยาบาลนราธิวาสจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข :สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ก.ย.(ฉบับเสริม 1), 2550.
สุนีย์ เก่งกาจ. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
Pender, N.S. Health Promotion in Nursing Practice2nd ed. Norwalk: applelan & lange, 1987.
สมจิต หนุเจริญกุล. วัลลา ตันตโยทัย และรวมพรคงกำเนิด. การส่งเสริมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติการพยาบาล. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2543.