การลดน้ำหนักด้วย 4 อ. ของกลุ่มแม่บ้านแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การลดน้ำหนักด้วย 4 อ., กลุ่มแม่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการลดน้ำหนักด้วย 4 อ. ของกลุ่มแม่บ้านแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร และยินดีเข้าร่วม โครงการ จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการดำเนินการ 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเก็บข้อมูลเบื้องต้น แบบวัดความรู้เรื่อง 4 อ.ได้แก่ อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย อบสมุนไพร แบบประเมินการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และพฤติกรรมของ 4 อ. พันธะสัญญา 4 อ. สมุดบันทึกประจำตัวในการปฏิบัติกิจกรรม 4 อ.แบบประเมินความพึงพอใจเข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังปฏิบัติกิจกรรม 4 อ.ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ดำเนินการวิจัยเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มแม่บ้านตัวอย่าง จำนวน 20 คน มีน้ำหนักตัวลดลง จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 95 น้ำหนักตัวคงที่ จำนวน 1 คนค่าเฉลี่ยน้ำหนักรวมลดลง 2.80 กิโลกรัม น้ำหนักตัวรวมลดลง 0.47 กิโลกรัม/สัปดาห์ แสดงว่ากลุ่มแม่บ้านที่ได้เข้าร่วมโครงการปฏิบัติกิจกรรม 4 อ. แล้วเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยปฏิบัติกิจกรรมผสมผสานกันทั้ง 4 อ.โดยสรุปการปรับพฤติกรรมด้วย 4 อ. ในภาพรวมเกิดประโยชน์กับกลุ่มตัวอย่าง แต่ในบางประเด็น เช่น อาหารและอารมณ์ คงต้องทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนต่อไป
References
ดวงพร แก้วศิริ และคณะ. “การให้โภชนศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการด้วยตนเองในเด็กวัยเรียนในชนบท”วารสารโภชนาการ. 36, 3 ;2554 : 34-40
ขวัญจิต อินเหยี่ยว. การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
มนชยา พลอยเลื่อมแสง. การให้คำปรึกษาตามหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการเพื่อการลดน้ำหนักของผู้ที่มีน้ำหนักเกิน. เชียงใหม่ : การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโภชศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.
งานแพทย์แผนไทย. การศึกษาผลกระทบของการอบไอน้ำสมุนไพรที่มีต่อร่างกาย. ศรีสะเกษ : ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลกันทรลักษณ์; 2550.