ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มแม่บ้าน ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เยาวเรส นันตา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, คัดกรองมะเร็งปากมดลูก, กลุ่มแม่บ้าน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มแม่บ้าน ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 217 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแคว์ผลการศึกษาพบว่า ภายใน 3 ปีที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี ร้อยละ 61.75 โดยการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค ตัวแปรด้านจิตสังคม สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ความสัมพันธ์รายด้าน ระหว่างการรับรู้ของบุคคล พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคในกลุ่มที่มาตรวจ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างปัจจัยร่วม ได้แก่ ตัวแปรด้านจิตสังคมและสิ่งชักนำให้ปฏิบัติ ทั้งสองกลุ่ม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างความเป็นไปได้ในการปฏิบัติได้แก่ การับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค ทั้งสองกลุ่ม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สถาพร ลีลานันทกิจ .การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารโรคมะเร็ง ,20 (มีนาคม 2537) :118-123

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ .ศ .2536.สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขกรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2536.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ .สถิติมะเร็ง .กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2537.

วิญญู มิตรานันท์ .พยาธิวิทยากายวิภาค .กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2538.

V. Vatanasapt et al. Cancer in Thailand. Khonkaen : Siripan press, 1993.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รายงานประจำปีงบประมาณ 2551 งานมะเร็งปากมดลูก, 2551

สำนักงานสาธารณสุขอำ เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ รายงานประจำปีงบประมาณ 2551 งานมะเร็งปากมดลูก, 2551

ธานินทร์ ศิลป์จารุ คู่มือการวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย spss. นนทบุรี : นิด้าการพิมพ์, 2546.

ศิริอร สินธุ .ผู้หญิงกับการเจ็บป่วยเรื้อรัง .กรุงเทพฯ : เจนเดอร์เพรส, 2542.

วิทยา สวัสดิ์วุฒิพงษ์, กนกนารถ พิศุทธกุล, ปราณีมหศักดิ์พันธ์, พัชรี เงินตรา, ฉวีวรรณ เชาวกีรติพงษ์ และลัดดาวัลย์ แดงเถิน. การ สำรวจความครอบคลุมและการใช้บริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในสตรีชนบทของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารกรมการแพทย์, 2538,20(2):43-50

ฉวีวรรณ เชาวกีรติพงษ์ .ผลการรณรงค์ค้นหามะเร็งปากมดลูกในสตรีชนบทของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ วารสารวิชาการแพทย์เขต 8, 3,2538(2):94-104

เรณู กาวิละ . ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และการมารับบริการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในสตรี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537.

Burak J. Lydia & Meyer Magaret. Using the Health Belief Model to Examine and Predict College Women’s Cervical Cancer Screening Beliefs and Behavior. Health Care for Woman International,1997, 18: 251 – 262

สริตา ธีรวัฒน์สกุลการตัดสินใจตรวจมะเร็งปาก ” .“มดลูก รายงานการวิจัย .ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.

รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว, อรทัย ชนมาสุข, อลิศลา ชูชาติ และนิทัศน์ รายวา. ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมโดยแม่บ้านอาสาสมัครกับการใช้จดหมายกระตุ้นเตือนต่อการมารับบริการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกในสตรีจังหวัดอุดรธานี. วารสารสุขศึกษา, 2538,70(18): 8-16

สมพงษ์ เลิศหิรัญวงศ์ และลำพึง เลิศหิรัญวงศ์.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันกามโรคของหญิงบริการทางเพศที่มารับการตรวจที่สถานกามโรคบางรักกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2539 5(3) : 390-397__

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป