การจัดการกับความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ สุคนธมาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ระดับความเครียด, การจัดการกับความเครียด

บทคัดย่อ

         จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างมาก เป็นการสร้างความกดดันและความเครียดต่อจิตใจของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยลักษณะงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ต้องรับผิดชอบสูง เกี่ยวกับความเป็นความตายของมนุษย์ จึงก่อให้เกิดความเครียดสูงในขณะปฏิบัติงาน การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด รวมทั้งการจัดการกับความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ ได้สุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวม 347 คน โดยใช้แบบสอบถามความเครียดของสวนปรุง SPST-60 (Suanprung Stress Test 60 ข้อ) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ หาความสัมพันธ์ ใช้การทดสอบ ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความไวต่อความเครียดของ กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 41.2 จาก สาเหตุเรื่องครอบครัว ร้อยละ 38.6 และเรื่องสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 40.6 ส่วนอาการความเครียดที่แสดงออกทางระบบของร่างกาย อยู่ในระดับ ปานกลาง ที่ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก ร้อยละ 47.7 การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล กับระดับความเครียด พบว่า ความคิดที่จะฆ่าตัวตายและความคิดที่จะฆ่าผู้อื่น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 วิธีการจัดการกับความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ คือ การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ร้อยละ 35.4 รองลงมา การปรึกษาหรือพูดระบายกับคนในครอบครัว ร้อยละ 31.7 และ ต้องการให้หน่วยงานจัดสถานที่ หรือห้องสำหรับพักผ่อนยามว่าง พร้อมมี ทีวี วิทยุ คาราโอเกะ และอุปกรณ์การออกกำลังกาย

References

จำลอง ดิษยวณิช และพริ้มเพรา ดิษยวณิช. ความเครียด ความวิตกกังวลและสุขภาพ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์ ; 2545.
สมจิต หนุเจริญกุล.การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอินเตอร์โฟกัสดาต้า; 2536.
ปรีชา อินโท.วารสารสวนปรุง ปีที่14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2541; หน้า 11-17.

สินีนาฏ จิตต์ภักดี. ภาวะความเครียดและปัจจัยจากลักษณะงานที่ทำให้เกินความเครียดของพยาบาลโรงพยาบาลสวนปรุง: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทวัยเชียงใหม่; 2538.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง ฉบับที่ 13 ; 2540:หน้า 1-20.

วรรณวิไล ชุ่มภิรมย์ และคณะ.รายงาน การวิจัย เรื่องความเครียดและวิธีจัดการกับความเครียดของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

มนตรี นามมงคล และวนิดา ชุ่มไพศาลชัย. การเปรียบเทียบความเครียด ความคิดอยากฆ่าตัวตาย และความคิดอยากฆ่าผู้อื่น ของข้าราชการในจังหวัดเชียงใหม่.กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ; 2540.

Arizen I., Fishbein M. Understanding attitudes and Predictory sexual Behavior. N.J.: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป