การพัฒนารูปแบบสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ แบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาโรค Streptococcus suis ในพื้นที่ ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร คำหล้า สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • ยุพาพร ศรีจันทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • พิมพ์ทอง อิ่มสำราญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • นพพร ศรีผัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพ, ไข้หูดับ, หมูดิบ, ลาบหลู้ โรคสเตรปโตคอคคัสซูอิส

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อ Streptococus suis อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา รูปแบบการศึกษาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 4, 5 และ 9 ตำบลทุ่งกล้วย ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี เดือนมีนาคม 2551 –กุมภาพันธ์ 2552 วิธีดำเนินการ คัดเลือกแกนนำในชุมชน จัดเวทีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา กำหนดทางเลือกในการดำเนินงาน กำหนดมาตรการโดยชุมชน จัดทำแผนของชุมชน และการติดตามประเมินผล ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า ผู้ที่มีหน้าที่ปรุงอาหารส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน ผู้ชายและผู้สูงอายุชอบกินดิบ จะมีการทำลาบ หลู้หมูดิบในงานเลี้ยงของหมู่บ้าน โดยส่วนมากมักรับประทานร่วมกับการดื่มสุรา มติชุมชนได้มีการกำหนดมาตรการสังคมหากมีงานเลี้ยงของหมู่บ้านต้องไม่มีรายการอาหารที่ทำจากหมูดิบ โดยกลุ่มแม่บ้านจะเป็นผู้กำหนดรายการอาหารร่วมกับเจ้าภาพงานและกรรมการหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันได้กำหนดสื่อในการสื่อสารความเสี่ยงของชุมชน ได้แก่ โปสเตอร์ติดตั้งในจุดที่เห็นชัดของหมู่บ้านเพื่อสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักอันตรายของการกินหมูดิบ สติ๊กเกอร์ เพื่อใช้เป็นสื่อรณรงค์ในการเคาะประตูบ้านและติดเพื่อย้ำเตือน เสื้อยืดมีข้อความ “หน่วยปราบคนกินดิบ” เพื่อเป็นสื่อบุคคลให้กับกลุ่มแม่บ้านใส่ในกรณีมีงานเลี้ยง โดยทุกคนพร้อมใจใส่เสื้อ มีกิจกรรมการรณรงค์ในหมู่บ้านจำนวน 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และสิงหาคม 2551 หลังดำเนินการแล้ว 6 เดือนได้ติดตามผลโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่าร้อยละ 90 ของประชาชนในหมู่บ้านเลิกกินหมูดิบ งานเลี้ยงขึ้นบ้านใหม่ งานศพ งานแต่งงาน งานเลี้ยงอื่นๆ ในหมู่บ้าน รายการอาหารในงานเลี้ยงเป็นรายการปรุงสุกเท่านั้น สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ การสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาโรค ไข้หูดับ แบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนและการใช้มาตรการสังคม ในการเลิกกินหมูดิบนั้นได้ผลเป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ตามการดำเนินงาน จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้เกิดกลไกและกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

References

อัจฉรา ฟองคำ, ประสิทธิ์ ธราวิจิตรกุล, รุจี พงษ์ประเสริฐ, บรรเลง ปัญจบุรี. โรคติดเชื้อ Streptococcus suis โรคสำคัญที่ถูกหลงลืมในจังหวัดลำ พูน จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย. ว.กรมการแพทย์ พ.ค. 2545; 27(5): 208-213.

นเรศฤทธิ์ ขัดทะสีมา .การระบาดของโรค Streptococcus suis กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา 25 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2550 slide presentation ในการประชุม Outbreak conference เรื่อง โรคติดเชื้อ Streptococcus suis นที่ 24-25 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 รายงานสรุปผลการประชุม Outbreak conference เรื่อง โรคติดเชื้อ Streptococcus suis นที่ 24-25 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ (เอกสารอัดสำเนา)

อนิรุธ เนื่องเม็ก. รายงานการสอบสวนเบื้องต้น (กรณีสงสัยติดเชื้อ Streptococcus suis ม. 5 บ้านทุ่งกล้วย ต.ทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซางจังหวัดพะเยา ที่ พย 0007/ว060 ลว 4 พค 2550

วัฒนา โยธาใหญ่, อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร,เกรียงศักดิ์ จิตร วัชนันท์ .บริบททางสังคมและการบริโภคนิสัยของประชาชนในหมู่บ้านที่เกิดโรคโบทูลิซึม จังหวัดพะเยาปี 2549 .วารสารสาธารณสุขล้านนา.2549;2(3):216-229

นิตยา ระวังพาล และ อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. รายงานการวิจัย บริบททางสังคมศาสตร์และการเกิดโรคหนอนพยาธิในชาวเขาเผ่าลัวะ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ .2545

รัศมี แก้ววิชิตและคณะ. วิถีการดำเนินชีวิต ความรู้เจตคติและพฤติกรรมของประชาชนที่เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย 2537.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป