การประเมินผลการดำเนินงานให้วัคซีนไข้หวัดใหญ๋ปี 2552 พื้นที่เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 15 และ 16

ผู้แต่ง

  • เปรมมิกา ปลาสุวรรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประเมินผล, โรคไข้หวัดใหญ่, วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในคน

บทคัดย่อ

           การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่  ความครอบคลุมของการให้บริการวัคซีนและการสูญเสียวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีพ.ศ. 2552 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ตัวอย่างคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับจังหวัดโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 16 แห่งและโรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลภาครัฐ ชนนั้นสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าร่วมงานจำนวน 122 เห็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานข้อมูลจากระบบ VMI จากระบบอินเตอร์เน็ตของสำนักหลักประกันและในงานนั้นจากการสูญเสียวัคซีนนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เชิง พรรณนา  โดยเกณฑ์กาประเมินมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดีเด่น ระดับดี พอใช้

          ผลการประเมินดำเนินงานทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ๋ระดับจังหวัดด้านความครรอบคลุมของการให้บริการวัซีน และด้านการสูญเสียวัคซีน ในพื้นที่เขตตรวจยราชการกระทรวงสาธารณสุขที่15 ในภาพรวมพบกว่าได้ค่าคะแนนนเฉลี่ยน 36.19๖SD=2.00) (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)  จังหวัดที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่  จังหวัดลำพูน  ได้ค่าคะแนน 39.30 รองลงมาได้แก่ จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่  ได้ค่าคะแนน 36.08, 35.12 และ 34.28 ตามลำดับ และจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีเด่นได้แก่ จังหวัดลำพูนในระดับดี ได้แก่ จังหวัดลำปาง และรดับพอใช้ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

          ในพื้นที่เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 16 ประเมินการดำเนินงานทั้ง 3 ด้านในภาพรวม พบว่าได้ค่าคะแนนเฉลี่ยน 35.39 (SD=7.8) (คะแนนเต็ม 50 คะแนน( จังหวัดที่ได้คะแนนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ได้ค่าคะแนนรวม 46.32 รองลงมาได้แก่จังหัดพะพเยา น่าน ละแพร่ ได้คะแนน 36.33, 30.42 และ 29.15 ตามลฃำดับ และจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีเด่น ได้แก่ จังหวัดเชียงรายในระดับดีได้แก่จังหวัดพะเยาและระดับพอ้ได้แก่ จังหวัดแพร่และน่าน

          การดำเนินงานให้บรากรวัคซีนไข้หวัดใหญ่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันทั้งระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ ทั้งด้านการบริหารจัดการ กาตรติดตามประเมินผล การรายงาน โดยให้มีความถูกต้อง และครบลถ้วนตามกลุ่มเป้าหมายและยึดวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับประโยชน์มากที่สุดและมีผลต่อการป้อกงันโรคไข้หวัดใหญ๋ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมโรคและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานโครงการให้วคซีไข้หวัดใหญ๋ พ.ศ. 2522. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์องค์การสงเคาะห์ทหรผ่านศึก, 2552: 5

นันทา มาระเนตร์และคณะ. ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. สืบค้นจาก http://www.si.mahidol.acl.th /project/geriatrics/Research/fluvaccine.htm. มีนาคม 2552

Jan Wilschur and Janet E McElhaney. Influenzs. Groningen and Farmingto, August 2004:138-139

โครงการ VMI ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ๋และโรคติดต่ออุบติใหม่. สืบค้นจาก http://scm.gpo.or th/vmi/พฤษภาคม 2552

รายงานจำนวนผู้มารับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่รายจังหวัด. สืบค้นจาก http://ww.nhso.to.th 1 ตุลาคม 2552

โครงการกระจายวัคซีนไข้หวัดใหญ๋ ผ่านระบบ VMI สปสช. สืบค้นจาก http://scm.gpo.orth/vmi/admin/ownerFLU5_frm.asp,1 ตุลาคม 2552

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป