ความชุกของมะเร็งปากมดลูกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้ตองขังหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วิชุดา จิรพรเจริญ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม
  • สิทธิชา สิริอารีย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม
  • สิริบูรณ ยาวิชัย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม
  • นิดา เหลี่ยววิริยกิจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม
  • ศิรินภา นันทพงษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม
  • อุไรวรรณ จุมปามัญ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม

คำสำคัญ:

แปปสเมียรN, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก, , นักโทษหญิง

บทคัดย่อ

            โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบอยู่ในสตรีทั่วโลก โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยมีอุบัติการณ์ ที่สูง กว่าประชากรทั่วไปเกือบ 2 เท่า อย่างไรก็ตามการศึกษาในปัจจุบันสามารถบอกถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได ที่สําคัญมีวิธีการคัดกรองโรคที่มีประสิทธิภาพ สตรีทุกคนจึงควรได้รับบริการตรวจคัดกรองนี้ผูตองขังหญิงเป็นกลุ่ม ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและอาจมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่การเกิดมะเร็งปากมดลูก ในขณะที่เรือนจําหญิงยังไม่มีแนว ทางการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ชัดเจน ข้อมูลจากการสํารวจความชุกผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและปัจจัยเสี่ยง ในผู้ต้องขังหญิงครั้งนี้จะถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนระบบการการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรวมทั้งส่งเสริม ให้ สตรีกลุ่มนี้มีพฤติกรรมป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้องและเหมาะสมวิธีการศึกษาการศึกษาย้อนหลังเชิง วิเคราะห์ แบบตัดขวาง ในผู้ต้องขังหญิง จังหวัดเชียงใหม ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการหญิงไทยห่างไกลมะเร็งปากมดลูก ช่วงเดือนมิถุนายน2550 ถึงตุลาคม2551 จํานวน302 คน ทําการประมวลผลข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สําเร็จรูป

          การศึกษา ความชุกของผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ผู้ ต้องขังหญิงจํานวน 302 คน คิดเป็น21.6% ของผู้ต้องขังหญิงทั้งหมด ส่ววนมาก70% มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า35 ปี  ผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบว่ามีเซลล์ เยื่อบุปากมดลูกที่ผิดปกติอาจเป็นมะเร็ง(Epithelial cell abnormality) 3.3% เมื่อแยกความผิดปกติระดับเซลล์ พบความผิดปกติ29.5% โดยส่วนมากเป็นการอักเสบ16.2% เซลล์ เยื่อบุมีรูปร่างผิดปกติ (ASCUS and ASCH) 2.3% เซลล เยื่อบุมีความผิดปกติระดับสูง(HSIL) 0.7% และระดับต่ำ(LSIL) 0.3% พบการติดเชื้อ

3%โดยมีคุณภาพการเก็บและการเตรียมสไลด์เป็นที่งพอใจถึง 99% ในส่วนผลการสํารวจพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งปากมดลูกของกลุ่มตัวอย่างพบว ามากกว า2ใน 3 เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และสูบบุหรี่ครึ่งหนึ่งของ ผู้ต้องขังมีความเสี่ยงจากการไม่ ใช้ ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ ที่ไม่ ใช่สามี เกือบครึ่งหนึ่งมี เพศสัมพันธ์ เมื่ออายุน้อยรับประทานยาคุมกําเนิดและไม เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และผู้ต้องขังอีก1 ใน 3 มี ปัจจัยเสี่ยงจากการมีสามีหรือคู นอนหลายคนและเคยมการตั้งครรภ์ เท่ากับหรือมากกว่า 4 ครั้ง

                   สรุป ผู้ต้องขังหญิงมีปัจจัยเสี่ยงต างๆ ที่จะเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างสูง แม้ว่าความผิดปกติของผลการ ตรวจคัดกรองจะพบมากกว่าประชากรทั่วไปเพียงเล็กน้อยแต่การตรวจคัดกรองโรคครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างเพียงบางส่ วนซึ่งยังไม่ครอบคลุมกลุ่มสตรีในเรือนจําทั้งหมด ดังนั้นควรให้ ความสําคัญเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกในผูต้องขังหญิงให้  มากขึ้นการมีนโยบายที่สนับสนุนการตรวจคัดกรองและรณรงค์ ให้ ผู้ต้องขังหญิงเห็นความสําคัญของการตรวจจึงเป็นสิ่ง ที่ความจำเป็นในเรือนจําหญิงทุกแห่งในประเทศไทย

References

จตุพล ศรีสมบูรณ์. มะเร็งปกมดลูกและการติดเชื้อเอชพีวีในชิษณุ พันธ์เจริญ บรรณาธิการ. Communication Skills คุยกันเรื่องมะเร็งปากมดลูกและการป้องกันด้วยวัคซีนเอชพีวี-กรุงเทพฯ: ซีแอนด์เอสพริ้นติ้ง. 2550

Bosch FX, Munoz N, de Sanjose S, Lzarzugaza I, Gili M, Viladiu P, et al. Risk factors for cervical cancer in Colombia and Spain. Int J Cancer. 1992 Nov 11; 52(5): 750-8

Brock KE, Beny G. Brinto LA, Kerr C, MacLennan R, Mock PA> et al. Sexual reproductive and contraceptive risk factor for carcinoma in-situ of the uterine cevix in Sydney. Med J Aust. 1989 Feb 6; 150(3): 125-30.

La Vecchia C, Negri E, Franceschi S, Parazzini F. Long-of reproductive factors on cancer risk, Int J Cancer. 1993 Jan 21; 53(2): 215-9

International Collaboration of Epidemiological Studies of Cervical Cancer. Carcinoma of the cervix and tobacco smoking: Int J Cancer. 2005

The information and public relations office ministry of public health, 2006

Walter LC, Lewis Cl, and Barton MB. Screening for colorectal, breast, and cervical cancer in the elderly: A review of evidence: The American Journal of Medicine, Volume 118, Issue 10, Pages 107-1086

U.S. Preventive Services Task Force, Screening for Cervical Cancer, January 2003

Jirporncharoen W, Koonlertgit N, Aramraltanna A, Preliminary Health Survery of Female Prisoner at Chiang Mai Women Prison, Family Medicine, Faculty of Medicine, Chaiang Mai University, 2008

Plugge E, Fitzpatrick R. Factors affecting cervical screening uptake in prisoners. J Med Screen. 2004: 11(1);48-9.

Binswanger IA, White MC, Perex EJ, Goldenson J, and Tulsk JP. Cancer Screeing Among Jail Inmates: Frequency, Knowledge, and Willngness am J Public Health, 2005; 95:1781-1787.doi: 10.2105/AJPH.2004.052498)

Royle L, Bailey K. Cervical Screening in the Prison. Service South East Public Health Conference 2007, The Royal Society, London

Chumworathayi B. Ungpinipong W. Lanuratanakorn S. Yuenyao P, Kleebkaew P. Clinical Significance of Atypical Squamous Celles of Undetermined Significance from Cervical Pap Smear

Deeying J. Prevalence and Retaliated Factors to Cervical Cell Abnomality Among Women in RuralArea, Amphur Chumponburi, Surin Province. Journal of Disease and Health Risk DPC.8 Volume 2 No.3 June – Sep 2008

Cervical Screening Program in Forth Valley, 2007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป