การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ทำงาน เกี่ยวข้องกับขยะโดยใช้หลักประชารัฐ ในจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • วราพันธุ์ พรวิเศษศิริกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • พิชญดา ทาจินะ

คำสำคัญ:

ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะ, สุขภาพและความปลอดภัย, ประชารัฐ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับขยะโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน รวมทั้งตัวผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะ เลือกพื้นที่ศึกษาระดับจังหวัดแบบเจาะจงคือจังหวัดลำพูน พื้นที่ศึกษาระดับอำเภอพิจารณาจากความพร้อมและความสมัครใจของผู้ที่รับผิดชอบงานอาชีวอนามัยของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ อำเภอบ้านโฮ่ง ป่าซาง และแม่ทา กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน แกนนำในชุมชน และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะรวม 507 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึง กันยายน 2561 กระบวนการศึกษามี 4 ขั้นตอน คือ 1) การทำความเข้าใจปัญหา 2) การวางแผนเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน 3) การดำเนินการตามแผน และ 4) การติดตามประเมินผล รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจแหล่งสะสมขยะในชุมชน สอบถามข้อมูลภาวะสุขภาพและความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานของผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะ การสัมภาษณ์ การสังเกต และการบันทึกข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการอบรมด้วย Paired sample t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลจากการศึกษาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำเสนอแผนการดำเนินงาน 4 แผนงาน คือ 1) แผนการสำรวจแหล่งสะสมขยะในชุมชนและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะ 2) แผนการพัฒนาความรู้แก่บุคลากรสาธารณสุขและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 3) แผนการพัฒนาความรู้แก่แกนนำในชุมชน 4) แผนการพัฒนาความรู้ให้เจ้าของร้านค้ารับซื้อขายของเก่าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะ ผลจากการสำรวจแหล่งสะสมขยะในชุมชนพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเป็นร้านค้าหรือสถานประกอบกิจการรับซื้อขายของเก่า ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะส่วนใหญ่เป็นผู้เก็บและคัดแยกขยะอิสระ หลังการพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรสาธารณสุข อปท. เจ้าของร้านค้ารับซื้อขายของเก่าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับขยะ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษานี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีสวนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดทำให้เรียนรู้สภาพปัญหาของชุมชน การกำหนดรูปแบบและวิธีการการดำเนินงานที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา  และมีการประสานการดำเนินงานร่วมกันอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ มีการติดตามผลการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: หจก.ส.มงคลการพิมพ์, 42.

เจริญชัย หมื่นห่อ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนกับการจัดทำแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. Journal of Community Development Research, 5(2), 43-54.

จรูญ ชิดนายี. (2550). ภาวะสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เดชา บัวเทศ, วันเพ็ญ บัวเทศ, และระพีพร บูรณะคุณ. (2548). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายของแกนนำชุมชนบ้านหนองคณฑี หมู่ที่ 4 ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 1. สระบุรี, 98-99.

บุญญิสา แสงจันทร์, และกาญจนา นาถะพินธุ. (2557). สิ่งคุกคามและปัญหาสุขภาพจากการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่าเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7 (1), 18-24.

พีรพงษ์ จันทราเทพ. (2554). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มาธุพร พลพงษ์, ซอฟียะ นิมะ, และปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย. (2560). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 243-259.

เลิศชัย เจริญธัญลักษณ์, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง, กาญนิถา ครองธรรมชาติ, และคณะ. (2545). โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากนโยบายการจัดการมูลฝอย เทศบาลนครขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเชิงระบบสาธารณสุข, 51.

ศิริพรรณ ศิรสุกุล. (2555). ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดนครปฐม. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทรรศน์ สิทธิศักดิ์, สุนทร ศุภพงษ์, และสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์. (2558). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบกล้ามและโครงร่างในพนักงานเก็บขยะเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(1), 137-149.

สุภาณี จันทร์ศิริ, สิทธิชัย ใขขานม และธัญวรรณ คำใส. (2561). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานและการประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกรณีศึกษาร้านรับซื้อของเก่าในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(2), 116-126.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2541). วิวัฒนาการการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ พิมพ์ครั้งที่ 2. โครงการตำราสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นนทบุรี, 28.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สานพลังประชารัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 17.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพเก็บและคัดแยกขยะ [online]. [สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562]; แหล่งข้อมูล: URL:http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Public%20Health_d1.pdf

อรัญ ขวัญปาน และชนิกานต์ พงศาสนองกุล. (2555). ความปลอดภัยจากการปฏิบัติงานของช่างซ่อมบำรุงมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. พิมพ์ครังที่ 1. กรุงเทพมหานคร, 59-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27