ท่าทางการทำงานที่เป็นอันตรายและอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพนักงานเปล โรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร บุญญประภา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • จุฑารัตน์ จิโน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ท่าทางการทำงานที่เป็นอันตราย, อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน, พนักงานเปล

บทคัดย่อ

          อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ให้บริการด้านสุขภาพรวมถึงพนักงานเปลของโรงพยาบาล ซึ่งการป้องกันการบาดเจ็บขึ้นอยู่กับการประเมินและปรับปรุงตำแหน่งหน้างานโดยการอาศัยตามหลักการยศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน  ลักษณะท่าทางการทำงานที่เป็นอันตรายของพนักงานเปล  และหาความสัมพันธ์ระหว่างท่าทางการทำงานที่เป็นอันตรายกับการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างในส่วนต่างๆของร่างกายพนักงานเปลโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ศึกษาเป็นพนักงานเปล จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินส่วนของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว และแบบสัมภาษณ์อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างตามมาตรฐานนอร์ดิค ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกายมีความแตกต่างกัน ได้แก่ อาการผิดปกติบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพกและต้นขา หลังส่วนบน เท้าและข้อเท้า ไหล่ เข่า คอ ข้อมือ และข้อศอก คิดเป็น ร้อยละ 66.7, 50.0, 46.7, 46.7, 43.3, 43.3, 30.0, 16.7 และ 6.7 ตามลำดับ สำหรับการประเมินส่วนของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็วพบว่า งานย่อยและขั้นตอนการทำงานมีคะแนนมากกว่า 4 ทั้งหมด และอัตราความเสี่ยงที่ได้จากการใช้วิธีแบบประเมินส่วนของร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็วมีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติบริเวณหลังส่วนล่าง (OR = 4.39,  95% CI = 6.54 - 1017.14) เข่า (OR = 2.84,  95% CI = 1.79 - 163.80) และข้อเท้า(OR = 3.08,  95% CI = 6.54 - 1017.14)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลของการศึกษานี้จึงเห็นควรมีการให้ความรู้พนักงานเปลในการปรับปรุงท่าทางในการทำงาน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการปรับปรุงอุปกรณ์หน้างานต่างๆ โรงพยาบาลควรมีนโยบายเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาของพนักงานเปล เพื่อป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อดังกล่าว

References

โรงพยาบาลนครพิงค์. (2560). ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลนครพิงค์ 2560 [online] [สืบค้นเมื่อ 13 เม.ย.2560]; แหล่งข้อมูล: URL: https://www.nkp-hospital.go.th.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล, วันเพ็ญ ทรงคำ และญาดาทิพย์ เจริญทรัพย์. (2553).การชี้บ่งปัจจัยคุกคามสุขภาพ ภาวะสุขภาพ การบาดเจ็บและเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน: การวิเคราะห์สถานการณ์ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. พยาบาลสาร, 37(1), 1-14.

ศุภฐิตา กองสิน. (2552). การปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวินันท์ ทวีพิริยะจินดา. (2558). ท่าทางในการทำงานที่เป็นอันตรายและความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเกี่ยวเนื่องมาจากการทำงานในคนงานโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 42, 209.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2556.

Abaraogu, U. O., Odebiyi, D. O., & Olawale, O. A. (2016). Association between postures and work-related musculoskeletal discomforts (WRMD) among beverage bottling workers. Work, 54(1), 113-119.

Chanchai, W., Songkham, W., Ketsomporn, P., Sappakitchanchai, P., & Siriwong, W. (2015). Prevalence and factors associated with musculoskeletal disorders among Thai hospital orderlies. International Journal of Occupational Hygiene, 7(3), 132-138.

Hignett, S., & McAtamney, L. (2000). Rapid entire body assessment (REBA). Applied ergonomics, 31(2), 201-205.

Kuorinka, I., Jonsson, B., Kilbom, A. et al. (1987). Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Applied ergonomics, 18(3), 233-237.

National Research Council and the Institute of Medicine. (2001). Musculoskeletal disorders and the workplace: low back and upper extremities. Washington, DC: National Academy Press.

Rafeemanesh, E., Jafari, Z., Kashani, F. O., & Rahimpour, F. (2013). A study on job postures and musculoskeletal illnesses in dentists. International journal of occupational medicine and environmental health, 26(4), 615-620.

Sahu, S., Moitra, S., Maity, S., Pandit, A. K., & Roy, B. (2013). A comparative ergonomics postural assessment of potters and sculptors in the unorganized sector in West Bengal, India. International Journal of Occupational Safety and Ergonomics, 19(3), 455-462.

Shiel, W. C. (2014). Lower Back Pain. [cited 2015 January 7]; Available from: URL: https://www.medicinenet.com/low_back_pain/article.htm

Vieira, E. R., & Kumar, S. (2004). Working postures: a literature review. Journal of occupational rehabilitation, 14(2), 143-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป