ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างปลอดภัยในเกษตรกร อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธณากรณ์ คำคง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธัญภรณ์ เกิดน้อย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในเกษตรกรอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ30 รายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่โปรแกรมการฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในเกษตรกรระยะเวลา 1 วันเนื้อหาประกอบด้วยชนิดและพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การล้างผักและผลไม้ที่ถูกต้องปลอดภัย โดยใช้วิธีการสอนแบบการบรรยาย การสาธิตและการฝึกปฏิบัติเก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน 2561 โดยใช้แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทัศนคติต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด จากชุดตรวจขององค์การเภสัชกรรม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับปลอดภัยที่ดีขึ้นแตกต่างจากก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)อย่างไรก็ตามหลังจากการได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย เกษตรกรกลุ่มทดลองบางส่วนยังมีการปฏิบัติตัวในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ถุงมือพลาสติกที่มีการขาดชำรุด การสวมใส่ชุดป้องกันสารเคมีอย่างไม่สม่ำเสมอ  ดังนั้นจึงควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มทดลองและติดตามผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในเกษตรกรในระยะยาวพร้อมกับการตรวจหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรเป็นระยะต่อไป

References

งานระบาดวิทยา ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลเชียงดาว ปี 2559. (2560). รายงานผลตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบล เชียงดาวประจำปีงบประมาณ 2559. ฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่, 38.

นันทิดา เหมือนมาตย์,ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ และภูรดา สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2552). ผลของการเรียนรู้ต่อการใช้สารเคมีกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตในการปลูกผักกาดขาวของเกษตรกรตำบลบึงกาล อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 1(2), 10-19.

เนตรชนก เจริญสุข. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 24 (1), 91-101.

ประกาย มิ่งไชย. (2560). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 15(1), 54-65.

ภัทรพล มากมี. (2555). โปรแกรมการลดความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและลดความเสี่ยงสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชาวนาอำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย [online] [สืบค้นเมื่อ 20 มิ.ย. 2560]; แหล่งข้อมูล: URL: http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/45098/1/phataraphon_ma.pdf

ศูนย์ข่าว สปสช. (2561). สปสช. หนุนมติ สธ.ห้ามใช้ 3 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อมูลระบบบัตรทอง 3 ปี พบผู้เสียชีวิต 1,715 ราย [online] [สืบค้นเมื่อ 24 พ.ค. 2562]; แหล่งที่มา: URL: https://www.nhso.go.th/FrontEnd/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjM5OQ==

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช [online] [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: https://oldweb.oae.go.th/economicdata/pesticides.html.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560 [online] [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2561]; แหล่งข้อมูล: URL: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf

สุนทรี ปลั่งกมล. (2558). การพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร, 10(12), 134-144.

Jors, E., Lander, F., Huici, O., Morant, R. C., Gulis, G., & Konradsen, F. (2014). Do Bolivian smallholder farmers improve and retain Knowledge to reduce occupational pesticide poisonings after training on integrated pest management. Environmental Health, 13(1), 75.

Orozco, F. A., Cole, D. C., Ibrahim, S., & Wanigaratne, S. (2011). Health promotion outcomes associated with a community-based program to reduce pesticide-related risks among small farm households. Health promotion international, 26(4), 432-446.

Suratman, S., Ross, K. E., Babina, K., & Edwards, J. W. (2016). The effectiveness of an educational intervention to improve knowledge and perceptions for reducing organophosphate pesticide exposure among Indonesian and South Australian migrant farmworkers. Risk Management and Healthcare Policy, 9, 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27