การศึกษาการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ ยาเสพติ และการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการป้องกันงโรคเอดส์และยาเสพติดในเด็กนักเรียนมัธยามศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • เกษม อุตวิชัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • บุญส่ง เกษมพิทักษ์พงค์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อารีรัตน์ สุขเกษม กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคเอดส์, ยาเสพติด, ครอบครัว, โรงเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการศึกษาการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องเอดส์ยาเสพติดและการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคเอดส์และยาเสพติดในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นการวิจัยเชิงพรรณาเพื่อการศึกษาถึงนโยบายของโรงเรียนการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคเอดส์และยาเสพติดตลอดจนการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคเอดส์และยาเสพติดข้อมูลทั่วไปของนักเรียนและลักษณะครอบครัวความสัมพันธ์ภายในครอบครัวความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตามโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวนเก้าโรงเรียนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารครูฝ่ายวิชาการและครูที่สรโรคเอดส์และยาเสพติดในด้านนโยบายการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมและการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้จำนวน 1020 คนโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจริยธรรมและความเชื่อมั่นในด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัวความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และยาเสพติดได้ค่าความเชื่อมั่นดังนี้ 0.77 , 0.67และ 0.61 ตามลำดับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ t-test One way ANOVA. Pearson Correlation และ Spearman Correlation Coefficient ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ผลการวิจัยพบว่าด้านนโยบายโรงเรียนส่วนใหญ่มีนโยบายในการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคเอดส์ให้ยาเสพติดในหลักสูตรทุกโรงเรียนและนอกหลักสูตรเจ็ดโรงเรียนทุกโรงเรียนมีนโยบายให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และยาเสพติดทุกโรงเรียนต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมและต้องการข้อมูลเอกสารที่ทันต่อเหตุการณ์ครูที่สอนทุกคนเคยได้รับการอบรมและมีคู่มือการสอนส่วนปัญหาและอุปสรรคการสอนคือสื่อการสอนไม่เพียงพอและขาดความเชี่ยวชาญในบางเรื่อง สำหรับด้านนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อาศัยอยู่กับบิดามารดาร้อยละ 77.8 กิจกรรมยามว่างฟังเพลงดูทีวีภาพยนตร์ร้อยละ 35.5 ส่วนใหญ่นักเรียนเคยได้รับความรู้เรื่องเอดส์และยาเสพติดร้อยละ 97.6 และ 98.5 ตามลำดับโดยได้รับความรู้จากสื่อมวลชนมากที่สุดร้อยละ 81.9 และ 83.1 ตามลำดับครอบครัวของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บิดามีอายุระหว่าง 41 ถึง 50 ปีร้อยละ 50.3 มารดามีอายุระหว่าง 30 ถึง 40 ปีร้อยละ 49.1 ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดามารดาคือประถมศึกษาหรือต่ำกว่าร้อยละ 26.6 และสาม 19.1 ตามลำดับอาชีพของบิดามารดาส่วนใหญ่รับจ้างร้อยละ 28.7 และแปด 28.9ตามลำดับรายได้ของบิดามารดาอยู่ระหว่าง 3000 ถึง 5000 บาทร้อยละ 32.0 และ 22.2 ส่วนใหญ่บิดามารดาอยู่ร่วมกันร้อยละ 72.7 บิดามารดาเป็นผู้การะเลี้ยงดูเป็นผู้นำครอบครัวและเป็นที่ปรึกษาร้อยละ 89.0 ก็ 11.6 และ3 3.8 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยที่สุดและบ่อยความรู้ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นความรู้เกี่ยวกับการไปตรวจเลือดเมื่อสงสัยว่าจะติดเชื้อเอดส์ตอบถูกต้องเพียงร้อยละ 45.4 นโยบายของรัฐบาลในการผ่อนผันให้ผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการรักสาตอบถูกต้องเพียงร้อยละ 29.3 สูงสุดของการจำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่ายยาบ้า 100 กรัมขึ้นไปจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตตอบถูกเพียงร้อยละ 40.3 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้นักเรียนกับความพร้อมของทรูความรู้ของนักเรียนกับลักษณะครอบครัวและความรู้ของนักเรียนกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวพบว่าลูกของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับความพร้อมของครู (p<.001) บิดามารดาดูแลสุขภาพของนักเรียน (p<0.017) พี่น้องมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน(p<.0.029)ด่ามันดาไม่ได้หวังกับนักเรียนเป็นอย่างแรกและให้โอกาสนักเรียนดำเนินชีวิตตามที่ต้องการ (p<.003)และมีผลสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกและร่วมแก้ไขปัญหาได้(p<.0.002)บิดามารดาได้ให้กำลังใจ(p<.0.027)นักเรียนมีความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา(p<.0012 นักเรียนตั้งใจจะประพฤติปฏิบัติตัวดีในครอบครัวและสังคม)(p<.001)

References

สถานการณ์โรคเอดส์ของประเทศไทย Available from: http:// www.cdcnet.moph.go.th.

สถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดเชียงใหม่ 2544. Available from: http:// chiangmaihealth.com/aids

แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2545-2549. Available from: http:// www.cdcnet.moph.go.th/cdcdept/Aids/plan 2545-2549

สถานการณ์ยาเสพติดประเทศไทย ปี 2544. Available from: http:// www.oncb.go.th

Simple random sample-Wikipedia, the free encyclopedia. Available from: http:// en.wikipedia.org/Wiki/Simple_random_sample.

Sampling Method – Random Sampling. Australian Bureau of Statistics. Available from: http:// www.abs.gov.au/ websitedbs/d3310116.NSF/4a255eef 008309e44a255ee.

Simple Random Sampling. Available from: http://www.coventry.ac.uk/ec/~nhunt/meths/random.html.

SPSS FAQ: What dose Cronbach’s alpha mean? Available from: http:// www.ats.ucla.edu/stat/Spss/faq/alpha.html.

Instrument Reliability- Educational Research- Del Siegle. Available from: http://www.gifted.uconn.edu/Siegle/research/Instrament% 20 Reliability%20an.

ศิริพร พุทธรังษีและคณะ. การศึกษาความตค้องการและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนเรื่องโรคเอดส์ของโครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษษตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยสำนักนโยบายและแผน ดุดุมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2541.

กุหลาบ รัตนสัจธรรม และคณะ. สัมพันธภาพในครอบควักับปัญหายาเสพติด และพฤติกรรมทางเพศศึกษาในระดับอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกรายงานวิจัยสำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา สำนักปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-12

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป