การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2551
คำสำคัญ:
Universal Health Care Coverage Policy, The Evaluationบทคัดย่อ
การศึกษาประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพผลหน้าปีงบประมาณ 2551 ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้จำนวนตัวอย่างจากผู้รับบริการจำนวน 361 รายและเจ้าหน้าที่จำนวน 80 รายโดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปผลการศึกษาพบว่าจากแบบสอบถามผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากทั้งด้านนโยบายด้านการดูแลสุขภาพในด้านการดำเนินงานของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นและความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ที่เห็นว่าการบริการงานภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าบรรลุผลในระดับมากอีกทั้งเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อการบริหาางานภายใต้นโยบายดังกล่าวระดับ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87, S.D.=0.504) เช่นกันฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานภายใต้นโยบายหลักนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหมบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเนื่องจากผู้รับบริการและผู้ให้บริการต่างก็มีความพึงพอใจในระดับมากภายใต้นโยบายดังกล่าวนอกจากนี้ทั้งผูมารับบริการและเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ต่างก็เห็นพ้องกันว่าไม่มีปัญหาหรืออุปสรรค (ร้อยละ 80.3) ในการใช้บริการหรือการให้บริการภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งผู้รับบริการบางส่วนเห็นว่าปัญหาที่เกิดจากการใช้บัตรทองก็คือการให้บริการมีความล่าช้าและความไม่เสมอภาคในการให้บริการนอกจากนี้ทางด้านเจ้าหน้าที่เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือด้านความไม่พอใจทั้งในด้านงบประมาณ บุคลากรด้านเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในด้านงบประมาณที่ได้รับจัดสรรรวมถึงนโยบายที่ไม่ต่อเนื่องและชัดเจนของรัฐบาลสำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อนโยบายด้านการดูแลสุขภาพได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาอาชีพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการดำเนินงานภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาอาชีพและรายได้และชนิดของบัตรส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อบริหารงานภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพผลหน้าได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศแต่ปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อการบริหารงานภายใต้นโยบายรับประกันสุขภาพส่วนหน้าดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของสถานบริการทางการแพทย์ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพตัวหน้าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการรัฐบาลควรให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในทุกๆด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบุคลากรที่รัฐบาลควรมีนโยบายในการสรรหาบุคลากรทางการแพทย์ในระดับการศึกษาเพื่อรองรับการบริการแก่ประชาชนในอนาคตรวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีความรู้ความสามารถให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและมีการติดตามนิเทศงานอย่างจริงจังต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้การค้นหาและวินิจฉัยปัญหาสุขภาพด้วยวิธีการที่เหมาะสม
References
เวสารัช สุจิณโณ : การเประเมินผลนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านโฮ่องจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
มัทนา พนานิรามัย และสมชาย สุขสิริเสรีกุล. การศึกษารูปแบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อหลักประกันทางสังคม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2540.
กระทรวงสาธารณสุข . ประกาศยากเลิกค่าบริการทางการแพทย์ พ.ศ.2549.
ภูษิต ประคองสาย และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องสถานพยาบาลต้องปรับตัวอย่างไรภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. นนทบุรี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544.
จิรพร ขีดดี : ความคิดเห็นของผู้ถือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อโครีงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อโครงการหลักำประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการให้บริการของศูนย์สุขภาพชุมชนสถานีอนามัยหัวฝายอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ . การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ . การติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สภสถบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ,2545.