การประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบเคลื่นที่เร็วในพื้นที่สาธารณสุขเขต 2 ปี 2551

ผู้แต่ง

  • วรรณา วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
  • วรวิทย์ ติดเทียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
  • พรสุรางค์ ราชภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
  • ณัฐกิจ พิพัฒน์จาตุรนต์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
  • ภัทรเดช วรศรีหิรัญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
  • เรณู มหายศนัท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

Evaluation, Standard Surveillance and Rapid Response Team, SRRT

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงนป้องก้นควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก โดยเก็บรวบรวมข้อมุลจากเอกสาร และสอบถามผู้รับผิดชอบหลักของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอ โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากระดับจังหวัดๆ ละ จำนวน 3-4 ทีม รวมทั้งหมด 18 ทีมจากจำนวนทีมทั้งหมด 47 ทีม และระดับจังหวัด 5 จังหวัด ระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบประเมิน มาตรฐาน SRRT ของสำนักระบาดวิทยาจำนวน 14 ข้อและแบบสรุปผลการประเมินมาตรฐาน SRRT วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยผลการศึกษาพบว่าการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอจำนวนทั้งหมด 18 แห่งและระดับจังหวัดห้าจังหวัดผ่านกินการประเมินทุกแห่งค่าคะแนนเฉลี่ยของทีมฝรั่งสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน SRRT จำแนกตามมาตรฐานและตามตัวชี้วัดผลการประเมินในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยมาตรฐาน SRRT 8.4 เมื่อจำแนกรายมาตรฐานพบว่าผ่านเกณฑ์ทั้งหมดสี่มาตรฐานโดยมาตรฐานทีมงานได้คะแนนเฉลี่ย 5.7 มาตรฐานความพร้อมได้คะแนนเฉลี่ย 8.8 มาตรฐานการเฝ้าระวังเตือนภัยได้คะแนนเฉลี่ย 7.4 และมาตรฐานการสอบสวนโรคมีคะแนนเฉลี่ย 7.9 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด 14 ตัวพบว่าในภาพรวมผ่านตามเกณฑ์ 12 ตัวชี้วัดมีเพียงสองตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคือตัวชี้วัดที่หกความครอบคลุมของหน่วยงานที่ส่งรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 1.5 และตัวชี้วัดที่ 12 ความครบถ้วนของการสอบสวนระบาดได้คะแนนเฉลี่ย 2.0 คะแนนเฉลี่ยของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับจังหวัดที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน SRRT จำแนกตามมาตรฐานและตามตัวชี้วัดผลการประเมินในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยมาตรฐาน SRRT = 7.7 เมื่อจำแนกรายมาตรฐานพบว่ามีผ่านกินทั้งสีมาตรฐานโดยมาตรฐานทีมงานได้คะแนนเฉลี่ย 10.0 มาตรฐานความพร้อมได้คะแนนเฉลี่ย 9.4 มันสถานการเฝ้าระวังและเตือนภัยได้คะแนนเฉลี่ย 8.2 และมาตรฐานการสอบสวนโรคมีคะแนนเฉลี่ย 6.6 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด 14 ตัวพบว่าในภาพรวมผ่านเกณฑ์ 11 ตัวชี้วัดมีสามตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคือตัวชี้วัดที่หกความครอบคลุมของหน่วยงานที่ส่งรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 4.8 ตัวชี้วัดที่ 10 ความครบถ้วนของการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายในพื้นที่รับผิดชอบได้คะแนนเฉลี่ย 5.6 และตัวชี้วัด 12 = 7.7 เมื่อจำแนกรายมาตรฐานพบว่ามีผ่านเกณฑ์ ทั้ง 4 มาตรฐานโดยมาตรฐานทีมงานได้คะแนนเฉลี่ย 10.0 มาตรฐานความพร้อมได้คะแนนเฉลี่ย 9.4 บริหารการเฝ้าระวังและเตือนภัยได้คะแนนเฉลี่ย 8.2 และมาตรฐานการสอบสวนโรคมีคะแนนเฉลี่ย 6.6 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด 14 ตัวพบว่าในภาพรวมผ่านเกณฑ์ 11 ตัวชี้วัดมีสามตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคือตัวชี้วัดที่ 6 ความครอบคลุมของหน่วยงานที่ส่งรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 4.8 ตัวชี้วัดที่ 10 ความครบถ้วนของการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายในพื้นที่รับผิดชอบได้คะแนนเฉลี่ย 5.6 และตัวชี้วัด 12 ความครบถ้วนของการสอบสวนการระบาดได้คะแนนเฉลี่ย 0.0 ดังนั้นทีม SRRT ควรพัฒนาด้านทักษะและสมรรถนะในการวิเคราะห์และแปรผลข้อมูลเฝ้าระวังสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการตรวจจับการระบาดและทีมเฝ้าระวังโรคของโรงพยาบาลควรมีการแจ้งทันทีที่พบผู้ป่วยสงสัยโรคที่ต้องเฝ้าระวังสอบสวนโรคหรือพบจำนวนผู้ป่วยมากกว่าที่คาดไว้เพื่อทีม SRRT จะได้ออกสอบสวนและควบคุมโรคเร็วป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคขยายวงกว้างออกไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป