ผลของการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดภาวะผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงงานผลิตวัสดุตกแต่งบ้นที่ทำจากไม้แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วลีลักษณ์ พิพัฒน์รัตนถาวร กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ภาวะผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, โรงงานผลิตวัสดุตกแต่งที่ทำจากไม้

บทคัดย่อ

          เป็นการศึกษาวิจัยเกิงทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่จัดขึ้นเพื่อลดภาวะผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานในพนักงานโรงงานผลิตวัสดุตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 42 คนโดยใช้แบบสำรวจภาวะผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อแบบประเมิน RULA Employee Assessment Worksheet และการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้การฝึกปฏิบัติการจัดกิจการยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างการทำงานการปรับปรุงสภาพการทำงานตามผลการประเมิน RULA ในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึงมิถุนายน 2551 ผลการศึกษาพบว่าหลังการศึกษาร้อยละของภาวะผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจะลดลงทุกอวัยวะระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันภาวะผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อคอและผลการประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจากการทำงานโดยเทคนิค RULA ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แสดงให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพซึ่งประกอบไปด้วยการจัดการอบรมให้ความรู้การฝึกปฏิบัติการให้ความรู้ที่ต่อเนื่องเป็นระยะด้วยการจัดเป็นกิจกรรมแทรกในการทำงานประจำควบคู่ไปกับการปรับปรุงสภาพงานให้เหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและจากการทำงานได้

References

สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. การสำรวจความปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, 2531.

เศกสิทธิ์ ขำวิเศษ นิรุต เลขะวัฒนะ ไพ่บูลย์ แสงมุข การวิเคราะห์และปรับปรุงท่าทางการการทานโดยวีธี RULA กรณีศึกษาในอุตสาหกรรมทอผ้าพื้นเมือง ภาคเหนือ. ปริญญษนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยนเรศวร,2541 .

นิธิดา จิรโชคนุเคราะห์. การลดอาการปดวหลังส่วนล่างของพนักงานสาวผ้า : กรณีศึกษาโรงงานย้อมผ้าถักตัวอย่าง. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทค.โนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2550.

วสันต์ ศิปลปะสุวรรณ และพิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ. การวางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพ : การวางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพ : ทฤษฏีและการปฏิบัติ . กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมจิต หนุเจริญกุล. วัลลา ตัตโยทัย และรวมพร คงกำเนิด. การส่งเสริมสุขภาพ : แนวคิดทฤษฏีและการปฏิบัติการพยาบาล. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2543.

วาสนา สารการ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาฃบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.

จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ. เออร์กอนนอมิคส์ และจิตวิทยาในการทำงานหน่วยที่ 1-15 . มหาวิทยาบัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป