อาการแสดงทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกิ่วในโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
อาการแสดงทางคลินิก, ไวรัสเดงกี่บทคัดย่อ
การติดเชื้อไวรัสเดงกิ่วเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อที่สำคัญของประเทศไทยและมักพบในกลุ่มผู้ป่วยเด็กแต่ในช่างหลายปีที่ผ่านมาพบในผู้ป่วยกลุ่มเด็กโต และผู้ใหญ่มากขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบความแตกต่างอาการทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเป็นการศึกษาในผู้ป่วย 51 คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลฝางระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2550 พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อเดงกิ่วทุกกลุ่มอายุมีอาการไข้ 100% รองลงมาในกลุ่มเด็กจะเป็นอาการเบื่ออาหาร 66.67% อ่อนเพลีย 61.11% คลื่นไส้/อาเจียน 55.55% ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่รองลงมาเป็นอาการอ่อนเพลีย 72.73% เบื่ออาหาร 66.67% คลื่นไส้/อาเจียน 57.58% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ พบว่า อาการปวดศรีษะ, ปวดกล้ามเนื้อ/กระดูก, คลื่นไส้/อาเจียน, ปวดท้อง, เบื่ออาหาร, มีผื่น และเลือดออกตามไรฟัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผลการตรวจนับเม็ดเลือดทั้งหมด (Complete Blood Count) ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่พบว่าส่วนใหญ่มีจำนวนเม็ดเลือดขาด * 5,000 เซล/ลบ.มม. จำนวนเกร็ดเลือด * 100,000 เซล/ลบ.มม. และการเพิ่มาขึ้นของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง * 20% เมื่อเปรียบเทียบผลการตวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ พบว่าการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผลการศึกษานี้สรุปว่าปัจจุบันการติดเชื้อเดงกิ่วในผู้ใหญ่พบมากขึ้น อาการทางคลินิก และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นไม่แตกต่างจากผู้ป่วยเด็ก ดังนั้นแนวทางในการวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลในเด็กน่าจะนำมาปรับใช้ในผู้ใหญ่ได้
References
ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออก DF+DHF+DSS ปี 2546, กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2008.
ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออก DF+DHF+DSS ปี 2547, กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2008.
ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออก DF+DHF+DSS ปี 2548, กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2008.
กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อจากไวรัสเดงกิ่ว, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, 2008.
ชิษณุ พันธ์เจริญ และคณะ. โรคติดเชื้อไวรัสเดงกิ่วองค์ความรู้ใหม่และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก, 2008.
ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกิ่ว, ในศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์. (บรรณาธิการ) แนวทางการวิจิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกิ่ว ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย. 2546
ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, Dengue virus infection in adults ใน พรรณพิศ สุวรรณกูล, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. Updates in Antimicrobial Agents and vaccinations. กรุงเทพฯ: พีพีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์; 2544: 253-268.
Ole Wichmann, Suchat Hongsiriwon, Chureeratana Bowonwatamuwong et al. (2004). Risk factors and clinical features associated with severe dengue infection in adults and children during the 2001 epidimic in Chonburi, Thailand. Tropical Medicine and International Health 9, 1022-1029.
ชนาธิป พันธุ์พิทย์แพทย์, อธิปพงศ์ พันธุ์พิทย์แพทย์. ไข้เลือดออกในวัยรุ่น. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2549; 45: 192-197
World Health Organization. Dengue Hemorrhagic Fever: Diagnosis, Treatment, prevention and control. WHO Geneva. 1997.