ระดับความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลงในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรรณภา สุวรรณเกิด
  • นันทวัน สุวรรณโชติ
  • ธรรม บุญติ

คำสำคัญ:

ระดับความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลง

บทคัดย่อ

             การศึกษาระดับความไวของยุงลายชนิดอีจิปไตย์และอโบพิคตัสต่อสารเคมีกำจัดแมลงครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระดับความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลงในจังหวัดเชียงใหม่ในพื้นที่ที่มีการฉีดพ่นสารเคมี เขตเมืองและเขตชนบทจำนวนเขตละ 2 แห่ง คือ ตำบลศรีภูมิ และตำบลสุเทพ อำเภอเมือง พื้นที่เขตชนบท คือ หมู่บ้านสะลวง อำเภอแม่ริม และหมู่บ้านปางไม้แดง (PMD) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับประกอบการพิจารณาการเลือกใช้สารเคมีกำจัดยุงลายอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544-2549 สำหรับสารเคมีที่ทดสอบได้แก่ ดีดีที มาลาไธออน, เพอร์เมทริน, เดลด้าเมทริน, ไซเพอร์เมทริน ไซฟูทริน, ไบเฟนทริน, แลมด้า ไซฮาโลทริน และโพรพอกเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบและกระดาษชุบสารเคมีตลอดจนระยะเวลาสัมผัสสารเคมีทำตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก จากนั้นถ่ายยุงจากกระบอกทดสอบ ไปใส่ในกระบอกหรือภาชนะเก็บยุงที่ไม่มีสารเคมีเลี้ยงต่อไปจนครบ 24 ชั่วโมง นับจำนวนยุงตาย และคำนวณอัตราการตาย ผลการทดสอบยุงลายอีจิปไตย์ทั้งเขตเมืองและเขตชนบทมีการดื้อต่อสารเคมีดีดีทีและสารกำจัดแมลงโพรพ๊อกเซอร์ โดยมีอัตราการตาย ระหว่าง 11-45% และ 51-67% ตามลำดับ พบว่ายุงลายอีจิปไตย์มีแนวโน้มการต้านต่อสารเคมีในระดับที่แตกต่างกันระหว่างเขตเมืองและเขตชนบทเมื่อดูจากอัตราการตายในสารเคมีกลุ่มไพรีทรอย์ 6 ชนิดคือสารกำจัดแมลงเพอร์เมทริน (63.64%-98.00%) เดลต้าเมทริน (77-100%) ไซฟูทริน (72-95%) ไซเพอร์เมทริน (57-93%) แลมป์ด้าไซฮาโลทริน (93-100%) และไบเฟนทริน (76-100%) อย่างไรก็ตามพบว่ายุงลายอีจิปไตย์ทั้งเขตเมืองและชนบทยังคงมีความไวต่อสารกำจัดแมลงมาลาไธออน โดยมีอัตราตาย 99-100% การศึกษาครั้งนี้พบว่ายุงลายอโบพิคตัสในเขตชนบทมีความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงดีดีที (100%) และยุงลายอโบพิคตัสนเขตเมืองก็ยังคงมีระดับความไวสูงต่อสารเคมีกำจัดแมลงชนิดเพอร์เทรินและเดลต้าเมทรินโดยมีอัตราตาย 100% ในขณะที่ยุงลายชนิดนี้ในเขตเมืองมีแนวโน้มในการต้านต่อสารเคมีกำจัดแมลงไซเพอร์เมทริน (83%) สารเคมีกำจัดแมลงไบเฟนทริน (67%) และแลมด้าไล, ฮาโลทริน (97%) ตามลำดับ

References

Pant CP. Vector ecology and bionomics. In: Tongcharoen P, ed. Monograph on dengue/dengue Haemorrhagic fever. New Delhi: World Health Organization Regional Office for South-East Asia; 1993: 122-38.

Pant CP, Bang YH. A field trial of Abate. Larvicide for the control of Aedes argypti in Bangkok, Thailand. Bull World Health Org 1972; 416-25.

http://www.Consumcrthai.org (access April 2006)

Miller TA. Mechanism of resistance to pyrethroid insecticide. Parasitology Today 1988, 4: 58-12.

Hemingway J, Hawkes NJ, Mccarroll., Ranson H. (2004). The molecular basis of insecticide Resistance in mosquitoes. Insect Biochemistry and Biology. 2004, 34: 653-665.

Ponlawat A, Scott JG and Harrington LC. Insecticide susceptibility of Aedes argypti and Aedes abopictus across Thailand. J.Med Entomol. 2005; 42(5): 821-825.

พิมพ์พา วัฒนชัย, พูนยศ เรี่ยวแรงบุญมา, สมเกียรติ บุญญะบัญชา, ประคอง พันอุไร. การทดสอบความไวยุงลายจังหวัดต่างๆ ต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ควบคุมไข้เลือดออก. วารสารโรคติดต่อ 2537; 20:202-8.

บุญเสริม อ่วมอ่อง, สงคราม งามปฐม, มาโนช ศรีแก้ว. การศึกษาความไวของยุง Acdes aegytpi ต่อสารเคมีกำจัดแมลงในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารกระสาธาณสุข 2542; 18: 93-101

กองแก้ว ยะอูป, สมบูรณ์ เถาว์พันธุ์ฐ ปานแก้ว รัตนศิลป์กัลชาญ, ลักษณา หลายทวีวัฒน์. การทดสอบความไวของยุงลายต่อสารเพอร์มิทรินและเดลตามิทรินใน 14 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสำนักงานป้องกันควบุคมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2545; 10:41-7.

Chareonviriyaphap T. Aum-aung B, Ratanatham S. Current insecticide resistance Patterns in mosquito vectors in Tahiland. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1999.30:184-194.

Somboon P, Prapanthadara L. and Suwonkerd W. Insecticide susceptibility test of Anopheles minimus. I., Aedes aegypti, Aedes albopitus and Culex quinquefasciatus in northern Tahiland. Southeast Asia J Trop. Med. Public Health. 2003, 34(1): 84-93.

Neely JM. Insecticide-resistance adudies on Aedes argypti in Thailand. Bull World Health Org. 1966; 35: 91.

World Health Organization. Instruction for detenmining the susceptibility or resistance of adult mosquito to organochlorine, organophosphate and carbarnate insecticides resistance mechanism (Field and laboratory manual). WHO/CDC/MAL/98.6;1998.

World Health Organization. Techiques to detect insecticide resistance mechanism (Field and laboratory manual). WHO/CDC/CPC/MAL/98.6;1998.

World Health Organization Manual on practical Entomology in Malaria. Part I and Part II. World Health Organization Geneva. 1975:pp.191.

Rueda LM. Pictorial key for the identification of mosquitoes (Diptera:Culicidac) associated with dengue virus transmission online edition Zootaxa. 2004;589:1

Prapanthadara I., Promtet N, Kootathep S, Somboon P, Suwonkerd W, McCarroll L and Hemingway J. Mechanisms of DDT and Permethrin Resistance in Aedes aegypti from Chaing Mai, Thailand. Dengue Bulletin 2002, 26: 185-189.

กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง รายงานการสำรวจสารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมีในหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลและศูนย์โรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปี 2005

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป