การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รื่นรมย์ โกช่าง

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

           ผู้ป่วยชายไทยอายุ 73 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการเป็นลม ไม่รู้สึกตัวก่อนมาโรงพยาบาล 20 นาที แขน ขา ด้านขวาอ่อนแรง มุมปากซ้ายตก ประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ แรกรับความดันโลหิต 190/100 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 92 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาที อุณหภูมิ 37.2 องศาเซลเชียส รูม่านตาขนาด 3 มิลลิเมตร มีปฏิกิริยาต่อแสงเท่ากันทั้งสองข้าง แพทย์วินิฉัยเบื้อต้นว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองรับไว้รักษาที่หอผู้ป่วยใน รวมระยะเวลา 6 วัน ให้การรักษาแบบประคับประคองและให้การพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล จนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและสามารถกลับบ้านได้ การดูแลผู้ป่วยเน้นการฟื้นฟูสภาพเพื่อให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่สภาพปกติ สามารถดูแลตนเองได้ตามศักยภาพ และการดูแลเรื่องสภาวะจิตใจ การวินิจฉัยครั้งสุดท้าย คือ โรคหลอดเลือดสมอง สภาพผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน ช่วยเหลือตัวเองได้พอควร แขน ขา ด้ายขวาอ่อนแรง แขนขา ด้านซ้ายปกติ การพูดช้าลง แต่ชัดเจนดี ยอมรับสภาพการเจ็บป่วยได้ ให้คำแนะนำวิธีการดูแลตนเอง การปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและญาติส่งขึ้นทะเบียนเพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้านและนัดพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาในอีก 2 สัปดาห์ ญาติและผู้ป่วยรับได้ สัญญาณชีพก่อนกลับบ้าน ความดันโลหิต 141/91 มิลลิเมตรปรอท ชีพจร 84 ครั้ง/นาที หายใจ 22 ครั้ง/นาที หายใจ 22 ครั้ง/นาที อุณหภูมิ 36.7 องศาเซลเซียส

References

Viriyavejakul A. Stroke in Asia: An epidemiological consideration. Clin Neuropharmacol 1990; 13 suppl 3: 526-33

Ministry of Public Health Burden of disease and injuries in Thailand Priority setting for policy. 2002; A14-A16, 58.

Stroke risk factor. http://www.americanheart.org.

ทหัยทิพย์ เพ็งจันทร์. แนวทางดำเนินงานโครงการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร. ใน: ชุชัย ศรชำนิ, สรกิจ ภาคชีพ, บรรณาธิการ. การบริหารจัดการโรคเรื้อรังโรคค่าใช้จ่ายสูงอย่างองค์รวมด้วยจิตใจความเป็นมนุษย์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท ส. พิจิตรการพิมพ์จำกัด, 2550: 185-190.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. 2550.

ดารณี สุวพันธ์ และคณะ. แนวทางปฏิบัติการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย.

Clinical practice guideline. Number16, Post-strokerehabilitation. U.S. Department of Health and Human Services Public HEalth Services Public Health Service Agency for Health Care Policy and Research (AHCPR) Publication 1995.

สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาทางอายุรศาสตร์. เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีเจพริ้นติ้ง, 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป