ความรู้ และการรับรู้บทบาทในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
โรคไข้หวัดนก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีความรุนแรงและเป็นปัญหาที่สำคัญทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชนจะมีส่วนช่วยในการป้องกันและควบคุมโรคได้ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การรับรู้บทบาทในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาในประชากร จำนวนทั้งสิ้น 120 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง เพื่อประเมินความรู้เรื่องโรค อาการและอาการแสดงและการป้องกันและควบคุมโรค และการรับรู้ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเชื่อมั่น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2550 ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรค อาการและอาการแสดงมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงแต่ความรู้ด้านการป้องกันและควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการรับรู้บทบาทพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็น 2 บทบาท พบว่าบทบาทด้านการสร้างเสริมสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงแต่บทบาทด้านการประสานงานกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังมีการรับรู้ บทบาทในด้านการประสานงานกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคไข้หวัดนกอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงควรมีการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้สามารถปฏิบัติตามบทบาทให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
จริยา แสงสัจจา. (2547, ตุลาคม). Infection control guidelines of influenza A (H5N1). เอกสารการประชุมเรื่องแนวทางการปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก, กรุงเทพ.
จำนง อดิวัฒนสิทธิและคณะ. (2540). สังคมวิทยา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
ชูศรี มีบุญเกิด, และยุพิน สุขเจริญ. (2540). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จังหวัดนครปฐม. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง, 12(5), 12-19
ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, ชุลีพร จิระพงษา, วรรณา หาฐเชาวกุล, พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, วีรยุทธ เจริญกิจไพศาล, และคณะ. (2547). ปัจจัยเสี่ยงของโรคไข้หวัดนกประเทศไทย. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข.
ทวี โชติพิทยสุนนท์, สรศักดิ์ โล่จินดารัตน์, พนิดา ศรีสันต์, กุลกัญญา โชคไพบูลย์ฏิจ, จิระนันท์ วีระกุล, มณฑิรา มณีรัตนาพร, และคณะ. (2548). ข้อแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและการรักษาศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของประเทศสหรัฐอเมริกา. Retrived July, 2005, from http://www.ede.gov
บัณฑิต แมลจิตร. (2540). การรับรู้และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานสาธารณสุขมูลฐาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. การค้นคว้าแบบอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยบุตร เฉลิมวงศ์. (2544). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดลำพูนในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศิริวรรณ ภู่สุวรรณ. (2548). ความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมไข้หวัดนกการค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2549). สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน. Retrived September, 2006, from http://epid.moph.go.th/invest/al/almain.php