ผลการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการใช้ยาบนหอผู้ป่วย โรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2548 - 2550

ผู้แต่ง

  • สมิต สมพันธุ์พงศ์

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยของผู้ป่วย, การใช้ยาบนหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์ ชนิด และระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิด เนื่องจากยา ศึกษาผลการป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาในผู้ป่วย รวมถึง การประเมินผลความพึงพอใจ ของผู้รับบริการต่อการให้บริการในหอผู้ป่วยใน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยโรค เรื้อรังและได้รับยาหลายขนาน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลพร้าว ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 กันยายน 2548 - 15 สิงหาคม 2550 จํานวน 132 คน สรุปผลการศึกษาดังนี้ พบอุบัติการณ์การเกิดปัญหาเนื่องจากยา ร้อยละ 84.09 ของผู้ป่วย ทั้งหมด โดยปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดจากการใช้ยา ร้อยละ 28.10 รองลงมา คือ การเกิดอาการข้างเคียง และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ร้อยละ 14.38 โดยมีปัญหาที่มีระดับความรุนแรง ที่ ส่งผลถึงผู้ป่วยทําให้เกิดอันตรายชั่วคราวและต้องมีการบําบัดรักษาจนถึงระดับอันตรายถาวร หรือต้องมีการช่วยชีวิต (ระคับ E-H) เป็นจํานวนร้อยละ 11.11 โดยไม่พบระดับความรุนแรงที่ทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิต (ระดับ 1) สามารถดําเนินการ แก้ไขปัญหาได้ร้อยละ 96 โดยปัญหาดังกล่าวต้องมีการประสานงานกับแพทย์ร้อยละ 56.5 ข้อเสนอแนะที่ให้ เป็นเรื่องการแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและปัญหาแบบแผนของการใช้ยาร้อยละ 55.7, พบว่าบุคลากรมีการ ยอมรับข้อเสนอแนะในการนําไปแก้ไขร้อยละ 92, โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ไขปัญหาทําให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการ รักษาดี ผู้ป่วยและญาติได้รับความรู้เรื่องโรคและยา ไม่เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยตามที่คาดไว้และอาการไม่พึงประสงค์จากการ ใช้ยาลดลงหรือหมดไป รวมเป็นร้อยละ 96.39, จากการดําเนินงาน ดังกล่าวพบว่าความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาด จากการใช้ยาที่มีระดับความรุนแรงระดับ E - H ลดลงในปีงบประมาณ 2549 และ 2550 เป็นร้อยละ 15 และ 3.52 ตามลําดับ และ เมื่อได้ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาเนื่องจากยา พบว่าผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยา ร้อยละ 76 ผู้ป่วยและญาติมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของทีมงานเพิ่มขึ้น, ในปี 2549 และ ปี 2550 ผู้ป่วยมีความพึง พอใจคิดเป็นร้อยละ 82.56 และ 83.63 ตามลําดับ โดยสรุป การเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้ป่วยจากการใช้ยา สามารถพบปัญหาความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา และดําเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทําให้ผู้ป่วยได้รับการใช้ยาที่เหมาะสมและผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการใช้ บริการ สามารถนํามาใช้พัฒนา ระบบความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยให้ต่อเนื่อง และเชื่อมโยง (MedicationReconciliation)ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety Goal) ในที่สุด

References

ดุสิต สถาวร. เครื่องชี้วัดความปลอดภัยของผู้ป่วย, ใน: Best Practices in Patient Safety. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, มีนาคม 2546; 212

Institute of Medicine.To err is human: Building a safer health system. Washington, D.C.: National Academy Press, 2000.

Brennan TA, Leape LL, Laird NM, et al. Incidence of adverse events and negligence in hospitalized patients. N Engl J Med 1991;324:370-6.

Leape LL, Brennan TA, Laird NM, et al. The nature of adverse events in hospitalized patients.N Engl J Med 1991;324:377-84

Bond CA, Raehl CL, Franke T. Medication errorsin United States hospitals. Pharmacotherapy 2001:21:1023-36.

สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2543. นนทบุรี:สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2544: 184-7.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลรายงานสถิติเครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.ตุลาคม 2544

นฤมล เจริญศิริพรกุล.การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, ใน:คู่มือฝึกปฏิบัติงานบริบาล ทางเภสัชกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3 ขอนแก่น : ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก, 2548: 179 – 196.

สรรธวัช อัศวเรืองชัย. บทความทบทวนทางวิชาการ:ความปลอดภัยของผู้ป่วยใน:Patient safety: Concept and practice.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร:สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ,2546:1-26.

Reason J.Human error: models and management.BMI 2000;320:768-70.

สุวรรณี เจริญพิชิตนันท์. Medication Reconciliation การสร้างระบบความปลอดภัยใน การใช้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยง. ใน:ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์,เนติ สุขสมบูรณ์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล และคณะ, บรรณาธิการ. บูรณาการงานบริการเภสัชกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย.กรุงเทพมหานคร : สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), 2551 : 54-55

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป