การทํางานของไตในผู้ป่วยนิ่วในไตที่มีภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะส่วนบน ที่ใส่สาย Percutaneous Nephrostomy และไม่ใส่สาย
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยนิ่วในไต, ภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะส่วนบนบทคัดย่อ
โรงพยาบาลลําพูนพบผู้ป่วยนิ่วในไตมากที่สุด ถ้านิ่ว " ไม่หลุดและก่อตัวเป็นก้อนใหญ่จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทรมานอย่างเรื้อรัง มีการติดเชื้อ และการอุดกั้นทําลายเนื้อ ไตจนสูญเสียประสิทธิภาพ เกิดภาวะไตวาย และเสียชีวิต ในที่สุด การรักษาผู้ป่วยนิ่วในทางเดินปัสสาวะ มีทั้งโดย การผ่าตัด การประคับประคอง การทํา Percutaneous Nephrostomy (PCN) เป็นการระบายปัสสาวะหรือของเสีย แล้ว ยังเป็นการรักษาเนื้อไตไม่ให้เสียไปมากกว่าเดิม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการทํางานของไต ในผู้ป่วยนิ่วในไตที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะส่วนบน ที่ใส่สาย Percutaneous Nephrostomy และไม่ใส่สาย Percutaneous Nephrosthotomy หลังผ่าตัด รูปแบบ การศึกษา แบบสาเหตุไปหาผล สถานที่ศึกษา หอผู้ป่วย ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะชาย หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลําพูน วิธีการศึกษา ศึกษาผู้ป่วยนิ่วในไตที่มี ภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะส่วนบน (35 ราย) ที่ได้รับการ ใส่สาย PCN (17 ราย) และไม่ได้ใส่สาย PCN (18 คน) ก่อนและหลังผ่าตัด Nephrolithotomy
ผลการศึกษา ผู้ป่วยนิ่วในไตที่มีภาวะอุดตันทางเดิน ปัสสาวะส่วนบน 35 ราย ที่ได้รับการใส่สาย PCN 17 ราย และไม่ได้ใส่สาย PCN 18 คน เพศชายร้อยละ 68.57 (24ราย) เพศหญิงร้อยละ 31.43 (11 ราย) ผลอัลตราซาวน์เป็น Mild hydronephrosis ร้อยละ 60 (21 ราย) severe hydronephrosis ร้อยละ 40 (14 ราย) พบว่า ผู้ป่วยที่ใส่สาย PCN การทํางานของไตผล Cr (<1.4 meq/dl) ก่อนใส่ร้อย ละ 58.82 (10 ราย) หลังใส่ 3 วัน ร้อยละ 72.22 (13 ราย) ผล Cr หลังผ่าตัด 7 วัน ร้อยละ66.67 (12 ราย) ผล Cr หลัง ผ่าตัด 14 วัน ร้อยละ 72.22 (13 ราย) ผู้ป่วยที่นอน โรงพยาบาลเกิน 14 วัน ร้อยละ 73.68 (14 ราย) เป็น ผู้ป่วย ที่ใส่สาย ก่อนผ่าตัด ร้อยละ 26.32 (5 ราย) เป็นผู้ป่วยที่ไม่ ใส่สาย PCN ก่อนผ่าตัด กลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนหลัง ผ่าตัด ร้อยละ 71.43 (15 ราย) เป็น ผู้ป่วยที่ใส่สาย PCN ก่อนผ่าตัด, ร้อยละ 28.58 (6 ราย) เป็นผู้ป่วยที่ไม่ใส่สาย PCN ก่อนผ่าตัด
สรุป การเปลี่ยนแปลงทํางานของไต (Cr) ผู้ป่วยนิ่วใน ไตที่มีภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะส่วนบน หลังผ่าตัด Nephrolithotomy ที่ได้รับการใส่สาย Percutaneous Nephrostomy (PCN) ก่อนผ่าตัดดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใส่ สาย PCN ก่อนผ่าตัด
References
Goodwin WE, cascy Wc , woff w. Percutaneous nephrostomy Trocar (Needle) nephrostomy in hydronephrosis, JAMA 1955, 157: 891-4
Wifrido R Castaneda - Zunlga , Terry M Brady, Raju Thornas, et al. Interventional Uroradiology Part 1, Percutaneous Uroradiologic Techniques, In : Castaneda-Zunleg WR, ed Interventional Radiology Philadephia : William & Wilkins, 1977
วชิร คชการ, ตํารา “ ไพฑูรย์ คชเสนี” ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย , กรุง เทพมหานคร: ปิยอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์: 2547:112 – 114
บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์, ตํารานิ่วในระบบทางเดิน ปัสสาวะ การเกิดโรค การวินิจฉัย กรุงเทพมหานคร: บริษัทปิยอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จํากัด, 2548 : 374 - 375
ชมรมพยาบาลระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยร่วมกับกลุ่มภารกิจบริการวิชาการ รพ. ราชวิธีและ สามารถคมศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (ประเทศไทย) ในพระบรมราชูปถัมภ์: การดูแลผู้ป่วย ศัลยกรรมระบบปัสสาวะทิศทางในอนาคต กรุงเทพมหานคร, 2549: 75