พฤติกรรมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ตําบลสันทรายหลวง อําเภอสันทรายหลวง จังหวัด พฤติกรรมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ตําบลสันทรายหลวง อําเภอสันทรายหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อุบล สุวรรณมณี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ความเชื่อ และการรับรู้ของผู้เป็นเบาหวาน และ เพื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การศึกษานี้ การศึกษาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อการส่งเสริมสุขภาพสําหรับผู้เป็นเบาหวาน ดําเนินการในตําบลสันทรายหลวง อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตกลุ่มตัวอย่าง 48 คน การศึกษานี้พบว่า การรับรู้ และความเชื่อของผู้เป็นเบาหวานไม่แตกต่างจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนใหญ่ระบุว่าสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือ กรรมพันธุ์ และพฤติกรรม การกินหรือบริโภค อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นปัจจัยหลักที่มีผล ต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่มีความพยายามที่จะควบคุมพฤติกรรมสุขภาพ โดยเฉพาะพฤติกรรมการแสวงหาการดูแลรักษาสุขภาพ พบว่าของผู้เป็น เบาหวานส่วนใหญ่ใช้การรักษาทั้งการแพทย์ พื้นบ้าน ร่วมกับการรักษาภายใต้การแพทย์ตะวันตกในสถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชน

          แนวทางการดูแลสุขภาพผู้เป็นหวาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้สุขศึกษากับผู้เป็นเบาหวานและทุกคนใน หมู่บ้าน เพื่อจะสามารถดูแลสุขภาพตนเอง โดยเฉพาะเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมการกินและการออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดตั้งกลุ่มสําหรับผู้เป็นเบาหวาน เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพทั้งปกติ ทางกาย จิต และสังคม

References

กาญจนา บุตรชน และคณะ. วิถีชีวิตผู้เป็นเบาหวานอำเภอวัชบุรี. อุดรธานี, 2547

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ, วิถีชีวิตชุมชน คู่มือการเรียนที่ทําให้ชุมชนช่วยได้ผลและสนุก. าค กรุงเทพฯ: บริษัทตรไชร์ จํากัด, 2545.

จตุรงค์ ประดิษฐ์, ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวาน โรงพยาบาลกําแพงเพชร เชียงใหม่, 2533.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, การดูแลสุขภาพตนเองพรมแดนความรู้ ในลือชัยศรีเงินยวง ยุทธศาสตร์เพื่อการดูแลตนเอง. นครปฐม: ศูนย์ศึกษานโยบาย สาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2533.

นันทพร ศรีสุทธะ, วิถีชีวิตกับการเกิดโรคเบาหวาน กรณีศึกษาชุมชนบ้านงิ้ว ตําบลสมัย อําเภอสบปราบ จังหวัดลําปาง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.

พัชรี ยุติธรรม. พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของชาวชนบท ภาคเหนือ, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษานอกระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539,

พันธุ์ทิพย์ รามสูตร. ระบาดวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ :พี.เอ.ลัพท์ จํากัด, 2540.

พิมพ์นันท์ ใจสุนทรีย์ และคณะ. การศึกษาพฤติกรรมความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน รายงานผลการศึกษาภาคเรียนที่ 1 ของวิชา มนุษยวิทยาและสังคมวิทยาของการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546 พิมพ์วัลย์ ปรีดาสวัสดิ์และคณะ, การดูแลตนเอง ทัศนะทางสังคมและวัฒนธรรม กรุงเทพฯ :สํานักพิมพ์แสงแดง, 2530

มัลลิกา ลุนจักร์ และคณะ, ปัจจัยและรูปแบบการออกกําลังกายของผู้สูงอายุตําบลหนองวังซอ. อุดรธานี, 2547.

วรรณภา ศรีธัญรัตน์, เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังแบบองค์รวม. บรรยายในวันที่ 16 – 18 มีนาคม 2542 ณ โรงแรมแก่นอินท์

สุธิดา ไชยซาววงษ์ วิถีการดําเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของชาวบ้านโรงวัว ตําบลแม่กา อําเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, คู่มือการดําเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2548. เชียงใหม่: งานโรคไม่ติดต่อ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการด้านการควบคุมโรค อัมพิกา มังคละพฤกษ์ และคณะ. ผลการบริโภคข้าว เหนียวต่อการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากร ภาคเหนือของประเทศไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป