การพัฒนาแนวทางการให้บริการผู้ป่วยโรควัณโรคแบบมีส่วนร่วมโรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นิภาพร อุปปินใจ

คำสำคัญ:

อำเภอเชียงดาว, ความชุกของวัณโรคสูง

บทคัดย่อ

             อำเภอเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของวัณโรคสูงโดยมีผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 2 ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากปัญหาที่หลากหลายและมีความสลับซับซ้อนส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของวัณโรค โดยพบว่าอำเภอเชียงดาวมีผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อมากที่สุดคือ 62 ราย คิดเป็น 43.94 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาทั้งหมดของโรงพยาบาล การจัดให้มีแนวทางการบริการที่ดีจะส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาจนหายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรคได้ ผู้วิจัยจึงได้หาแนวทางการให้บริการโดยใช้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาที่แท้จริง มีความตระหนัก และเป็นเจ้าของปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกทั้งผลงานวิจัยที่ได้จะมีส่วนผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการให้บริการผู้ป่วยวัณโรคที่มาทากรรักษาที่โรงพยาบาลเชียงดาวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานเรื่องการเร่งรัดงานวัณโรคในสถานการณ์ระบาดของโรคเอดส์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2541.

World Health Organization. WHO Report 2001. Global Tuberculosis Control.

สำนักงานวิจัยวัณโรคจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ สำนักงานสาธารณสุขเชียงราย กองวัณโรคกระทรวงสาธารณสุข. เยี่ยมบ้านอย่างไรให้ชนะใจผู้ป่วยวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 3 โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด 2544.

กลุ่มวัณโรค สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 (ฉบับปรับปรุง). โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2548.

คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลเชียงดาว. รายงานผลการดำเนินงานวัณโรค พ.ศ. 2548. โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงสาธารณสุข 2548. อัดสำเนา.

คณะกรรมการจัดทำแผน 9 ของกระทรวงสาธารณสุขแผน 9 ของกระทรวงสาธารณสุขตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). www.dmse.moph.go.th/net/plan/pl/plan9.

สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์. วารสารวัณโรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต 2548;26(1)

สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ 2548.

สำงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ TB07 ของโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ปี 2548. กระทรวงสาธารณสุข 2548 อัดสำเนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป