การจัดการรายกรณีผู้ป่วยจิตเภทที่ถูกล่ามขังในชุมชน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สัมพันธ์ ก๋องเงิน โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

              โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่รุนแรงที่สุดเป็นความเจ็บป่วยทางจิตที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากมีลักษณะการดำเนินของโรคที่ยาวนานเรื้อรังและมีอาการกลับเป็นซ้ำได้บ่อยครั้งทำให้บุคคลขาดสมรรถภาพในการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยโรคจิตเภทมักมีอาการทั้งทางบวกและอาการทางลบ ส่วนใหญ่อาการทางบวกจะก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลมากกว่าซึ่งเป็นอาการที่เป็นอันตรายต่อตนเองและต่อผู้อื่น บางครั้งญาติจะใช้วิธีการล่ามขังในการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันอันตรายทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสในการรักษาและการดำเนินชีวิตตามปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณีที่นำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ถูกล่ามาขังในอำเภอจอมทองจำนวน 1 ราย เพศชาย อายุ 46 ปี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 วิธีการศึกษาคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลแบบการจัดการรายกรณี ผู้จัดการรายกรณีประเมินสภาพ วิเคราะห์ปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามปัญหาที่พบและประเมินผลการปฏิบัติการดูแลทั้งด้านจากผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ครอบครัว และทีมผู้ให้บริการ ผลการศึกษาผู้ป่วยมีอาการทางจิตสงบ ไม่ถูกล่ามขัง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ มีทักษะทางสังคมมากขึ้น รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง สนใจดูแลตนเองดีพอควร ญาติและชุมชนให้การยอมรับในการอยู่ร่วมกับครอบครัว และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ควรมีการใช้วิธีการจัดการรายกรณีผู้ป่วยกับผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังและซับซ้อนในโรงพยาบาลชุมชน

References

William H. Gnam. Handbook of Complex Occupational Disability Claims Springer, US 2006.

Patrick W. Corrigan, Amy C. Watson, Amy C. Warpinski and Gabriela Gracia Stigmatizing Attitudes About Mental IIIness and Allocation of Resources to Mental Health Services Springer Netherlands, 2004.

Setsuo Takatani, Charles Davies, Naoki Sakakibara, Andrew Zurick, Erik Kraenzler, Leonard R. Golding George P. Noon, Yukihiko Nose and Michael E. Debakery Experimental and clinical evaluation of a noninvasive reflectance pulse oximeter sensor Springer Netherlands, 2005.

Steven R. Kubacki and Maryellen Chase. Comparing Values and Methods in Psychodynamic and Cognitive-Behavioral Therapy: Commonalities and Differences. Springer Netherlands 2004.

Kaplan, H.I.,&Sadock,J.B.Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry:Behavioral sciences and clinical psychiatric Nursing, 2000; 12(1): 71-80.

World Health Organization. The ICD-10 Classification of mental and behavioral disorder: clinical description and diagnostic guidelines. Geneva: Author, 1992.

กรมสุขภาพจิต. ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติเรื่องการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภท. กรุงเทพ, 2550.

Pamela N. Prince and Gary J. Gerber. Subjective well-being and community integration amoclients of assertive community treatment. Springer Netherlands, 2005.

Robert E. Drake and Kim T. Mueser. Managing comorbid schizophrenia and substance abuse. Current Medicine Group LLC, 2007.

โรงพยาบาลจอมทอง. สรุปผลงานประจำปีเชียงใหม่, 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-22

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป