ผลการใช้ระบบ DOTS ดูแลผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2547-2549
คำสำคัญ:
DOTS, ผู้ป่วยวัณโรค, คโรงพยาบาลหางดงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการใช้ระบบ DOTS ในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ของโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกรายที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลหางดง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2549 รวมระยะเวลา 3 ปี
ผลการศึกษาพบว่าจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 201 คน ซึ่งควบคุมกำกับการกินยาโดยสมาชิกในครอบครัวพบว่า อัตราผลเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นร้อยละ 73.63 ผลการรักษาเมื่อสิ้นสุดการรักษาหายร้อยละ 30.84 อัตราการรักษาครบ ร้อยละ 25.87 อัตราล้มเหลวร้อยละ 1.49 อัตราตายร้อยละ 24.88 อัตราการขาดยาร้อยละ 8.46 อัตราการโอนออกร้อยละ 8.46
การดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยระบบ DOTS มีประสิทธิภาพดีในคลินกวัณโรคโรงพยาบาลหางดง แต่ยังไม่เป็นไรตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จึงควรเน้นการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งมีอัตราการตายสูงและในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นคนต่างด้าวหรือคนที่มีการย้ายถิ่นฐานบ่อย ซึ่งทำให้เกิดอัตราการขาดยาสูงขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางระดับชาติ: ยุทธศาสตร์การผสมผสานการดำเนินงานวัณโรคและโรคเอดส์เพื่อการควบคุมการป้องกันวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ; 2546.
กลุ่มวัณโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. โรคพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ; 2548.
WHO. WHO Report 2005-Global Tuberculosis Control, Surveillance, Planning, Financing. World Health Organization. WHO/HTM/TB/2005; 2005: 349.
อิทธิศักดิ์ เสียมภักดี. การปฏิรูปงานควบคุมวัณโรคแนวใหม่กับการพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกสำหรับผู้ป่วยวัณโรคของเภสัชกรโรงพยาบาลในทศวรรษที่ 21. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสำนักงานควบคุมโรคติดต่อ เขต 10, เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนางานควบคุมวัณโรคสำหรับเภสัชกร. กรกฎาคม 2542. โรงแรมสุริวงศ์เชียงใหม่; 2542.
WHO. Treatment of Tubeculosis: Guidelines for National Programmes, Third edition._Revision approved by STAG, June 2004} World Health Organization, WHO/CDS/TB/2003: 313.
WHO. Guidelines for the Management of Drug-resistant Tubeculosis. World Health Organization, WHO/TB/99.210 (Rev.1); 1996.
สุนิสา ศิริ. การใช้ยารักษาวัณโรคและการวัดอาการข้างเคียงจากยารักษาวัณโรค. เอกสารประกอบอบรมการดำเนินงานควบคุมวัณโรคด้วยวิธี DOTS สำหรับเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรค. วันที่ 1-2 และ 4-5 เมษายน 2545. โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ; 2545.
Crofton J., Horrne N., Miller F. Clinical Tubeculosis. The MacMillan Press. HongKong; 1992.