ประสบการณ์การผ่าตัดรักษาโรคของต่อมไทยรอยด์ในโรงพยาบาลจอมทอง

ผู้แต่ง

  • เมธา ขันธะชวนะ

คำสำคัญ:

ต่อมไทยรอยด์, โรงพยาบาลจอมทอง

บทคัดย่อ

                จุดประสงค์เพื่อแสดงความปลอดภัยในการผ่าตัดไทรอยด์ ด้วยอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต่ำและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จำนวน 110 ราย ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2545 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยการเก็บข้อมูล อายุ เพศ อาการ ลักษณะก้อนที่คอ น้ำหนักชิ้นเนื้อที่ผ่าตัดออกมาแล้ว ลักษณะทางพยาธิสภาพ ชนิดของการผ่าตัด ระยะเวลาในการผ่าตัด และการประมาณการเสียเลือดในระหว่างการผ่าตัด แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่อการเดภาวะแทรกซ้อนและระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่ามีภาวะแทรกซ้อน 13 ราย (12%) เป็น Hypothyroidism 7 ราย Hyperparathyroidism 5 ราย recurrent laryngeal nerve injury 1 ราย แผลผ่าตัดติดเชื้อ 2 ราย trachea-esophageal fistula 1 ราย พบปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (P=0.004) ชนิดการผ่าติด (P=0.002) ลักษณะก้อนเนื้อที่คอ (P=0.001) น้ำหนักของชิ้นเนื้อที่ตัดออกมา >110 gm (P=0.04), ระยะเวลาการผ่าตัด (P<0.001) การเสียเลือก (P=0.001) และลักษณะของก้อนที่คอก่อนผ่าตัดเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจัยที่มีผลระยะการนอนโรงพยาบาลคือ ระยะเวลาการผ่าตัด ภาวะไทยรอยด์เป็นพิษกับน้ำหนักชิ้นเนื้อ >110 gm เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล สรุปการผ่าตัดไทรอยด์ในโรงพยาบาลจอมทองมีความปลอดภัยโดยมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ยอมรับได้ซึ่งมีลักษณะของก้อนที่คอเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่ออัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และน้ำหนักเนื้อที่ตัดชิ้นเนื้อออกไป >110 gm กับภาวะไทรอยด์เป็นพิษเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล

References

Rring-Puang-Geo S, Disease of thyrosd in Thailand, Summary of 18 year studies of thyroid disease in Thailand. Med News Thailand. 1953; 4: 551.

รัชตะ รัชตะนาวิน. Goiter: Over View. ในสุรพงษ์ สุภาภรณ์ม สุมิต วงค์เกียรติขจร, วิชัย วาสนสิริ, บรรณาธิการ. ธัยรอยด์ และ พาราธัยรอยด์. กรุงเทพมหานคร; 2545: 108-33.

Pranklyn Ja. The management of hypethyroidism. NEJM. 1994; 330: 1731-8.

Cooper Ds. Mntithyroid drugs. MEJM. 2005; 352: 905-17.

Singer PA. Cooper DS, Daniels GH et al. Treatment guidelives for patients with thyroid nodules and well-differantiated thyroid cancer. Arcg. Intern. Med. 1996; 156: 2165-72.

Hegedus L. The thyrosd hodule. NEJM. 2004; 351: 1764-71.

Hegedus L, Bonnema SJ, Bennedback FN. Management of simple nodular goiter: current status and future perspectives. Evdocr. Rev. 2003; 24: 102-32.

Lal 6, Clark OH. Thyroid, parathyroid, and adrenal. IN:Brunicardi FC, Andersen DK, Billiar TR, Dunn DL, Wenter JG, Pollock, RE, eds. Schwartz’s Principles of Surgery 8 th ed. New York: McGraw-Will, 2005: 1395-1470.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป