คุณภาพงานบริการวิสัญญีและอัตราการตายในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สิรีธร โชลิตกุล
  • จงกลนี ดาววิจิตร

คำสำคัญ:

งานบริการวิสัญญี, อัตราการตายในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

บทคัดย่อ

              การให้ยาระงับความรู้สึกเป็นงานบริการด้านวิสัญญีโดยมีเป้าหมายหลักคือ ความหลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วย จึงมีการพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อนและความผิดพลาดที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการตายของผู้มารับยริการวิสัญญีโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย วิธีการเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากข้อมูลที่ลงทะเบียนในระบบคอมพิวเตอร์ แฟ้มประวัติผู้ป่วย ใบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึก ใบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นในผู้ป่วยทุกรายที่มารับบริการทางด้านวิสัญญี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึง 31 ธันวาคม 2549 จำนวน 19,760 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีเป็นผู้ป่วยชายและหญิงร้อยละ 54 และ 46 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีอายุ 15-45 ปี ร้อยละ 49 ประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเป็น ASA physical status ระดับ 1-5 ร้อยละ 45, 36, 13, 4 และ 0.7 ตามลำดับ วิธีการให้ยาระงับความรู้สึกส่วนใหญ่เป็น General anesthesia with endotracheal tube ร้อยละ 53 อัตราตายของผู้ป่วยใน ASA physical status ระดับ 1 เป็น 0 ระดับ 2-5 เป็นอัตราตายต่อหมื่นประชากร 4.16, 41.3, 504.1 และ 3529 ตามลำดับ พบว่าอัตราตายสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของงานบริการทางวิสัญญีได้

References

สมรัตน์ จารุลักษรานันท์. การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย, ตำราวิสัญญีวิทยา; 2548: 2-10.

สวรรธวัช อัศวเรื่องชัย. Patient Safety Solution, Concept and Practice สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพบริการ; 2546: 2-30.

สมรัตน์ จารุลักษรานันท์. Quality in Anesthesia Service การประชุทมวิชาการราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. Available from: http://www.md.chula.ac.th/rcat/upload/quality.pdf.

รัดดา กำหอม. การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นตามแผนภูมิการระงับปวดที่กำหนดขึ้น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2544; 16(4): 251-256.

ศิริพร ปิติมานะอารี. A Postoperative Analysis of the Patient’s Attitude of Anesthesia in Siriaj Hospital. วิสัญญีสาร 2535; 18(3): 125-133.

นารถฤดี จิตต์ปรีชาญ. การเปรียบเทียบผลการพัฒนาคุณภาพบริการวิสัญญีในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องจากโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพบริการโรงพยาบาล(HA)ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วิสัญญีสาร 2543; 26(4): 235-248.

นารถฤดี จิตต์ปรีชาญ. The Comparative Study of the Quality Anesthesia in the Chiangrai Regional Hospital from the Hospital Accreditation Project. วิสัญญีสาร 2542; 25(3): 166-176.

Miller, Ronald D. Risk of anesthesia: Anesthesia Churchill Livingstone Inc. 2005. P.894-925.

American Society of Anesthesiologists (homepage on internet): ASA physical status Classification System. A available from: http:www.//asahq.org/clinicalinfo.htm.

Lagasse RS: Anesthesia safety: Model or myth? A review of the published literature and analysis of current original data. Anesthesiology 97(6); 2002: 1609-17.

Junger A, Veit C, Kloss T. Aspects of external quality assurance in anesthesiology-experiences in Hamburg, Z Arztl Fortbild Qualitatssich. 199 Nov; 93(9): 689-99.

พัชรี ยิ้มรัตนบวร. อัตราการตายของผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีตามสภาพก่อนผ่าตัด, วิสัญญีสาร. 2006; 32(1): 13-8.

ธารทิพย์ ประณุทนรพาล. Safety and Quality of Anesthesia. Available from: http://www.ad.chula.ac.th/reat/upload/safe.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป