พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัวในเขตตำบลมะเขือแจ้ อำเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • โภคิน ศักรินทร์กุล
  • พรนิพา ยะปัญญา
  • อดิศัย ภูมิวิเศษ
  • วัชรินทร์ วังธิยอง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, ครอบครัว, เขตตำบลมะเขือแจ้ อำเมือง จังหวัดลำพูน

บทคัดย่อ

               ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของประชาชนไทยอันเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น กลยุทธิ์หลักในการแก้ปัญหาดังกล่าวคือการสร้างเสริมสุขภาพโดยครอบครัวมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัวในเขตตำบลมะเขือแจ้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวและชุมชนต่อไปในอนาคต

          กลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากครอบครัวในเขตพื้นที่ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 450 หลังคาเรือนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวที่พัฒนาโดย Kanogwan Suwanpatikorn 2001 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามกรอกเอง มีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่าครอบครัวส่วนมากร้อยละ 84.46 เป็นครอบครัวเดี่ยว อายุของสามีเฉลี่ยอยู่ที่ 51 ปี ส่วนภรรยามีอายุเฉลี่ย 50 ปี จำนวนบุตรเฉลี่ยต่อครอบครัวมีค่า 1.62 คน พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตของครอบครัว และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายของครอบครัว ส่วนมากอยู่ในระดับปานกลางคือ ร้อยละ 49.41 และ 54.63 ตามลำดับ ความรับผิดชอบต่อการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว และความสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนมากอยู่ในระดับดี คือ ร้อยละ 52.26 และ 69.60 ตามลำดับ เมื่อรวมคะแนนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัว ทั้งหมดพบว่าครอบครัว ทั้งหมดจะพบว่าครอบครัวส่วนมากมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางคือร้อยละ 51.54 รองลงมาอยู่ในระดับดีร้อยละ 38.72 มีเพียงร้อยละ 9.74 ที่ควรปรับปรุง

References

ประคิณ สุจฉายา และคณะ. โครงการพัฒนาระบบจัดเก็บกลุ่มตัวชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขสำหรับประเทศไทย: จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กเล็กและครอบครัว; 2548: 1-2.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. สุขภาพคนไทย 2546. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2547: 13-19.

John Kemm and Ann Close. Health promotion: Theory and practice. New York: PALGRAVE. 1995: 7.

อำพล จินดาวัฒนะ. กระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารสร้างเสริมสุขภาพ. 2548; 2(1-2): 55-67.

ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และคณะ. เอกสารวิชาการเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ (Determinants of Health). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2547: 1

Kanogwan Suwanpatikorn. “Family Health Promoting Behavior Scale: Development and Psychometric Analysis.” A Thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of doctor of public health, Faculty of Graduated Studies. Mahidol University; 2001.

จิตินันท์ เดชะคุปต์. “แนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา” ใน ประมวลสาระชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา (Family psychology and family studies) หน่วยที่ 1 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์; 2547: 1-57.

องอาจ นัยพัฒน์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Quantitative and Qualitative Research Methodologies in Behavioral and Social Sciences) กรุงเทพมหานคร; 2549: 125.

เทพินทร์ พัชรานุรักษ์. สังคมวิทยาการแพทย์ กรุงเทพมหานคร; 2548: 81-86.

ชัยณรงค์ สังข์จาง. “พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหัวหน้าครอบครัวในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร” การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543: 63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป