การประเมินโปรแกรมการสอนทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • พิษณุ รักสกุลกานต์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโปรแกรมการสอนทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ประเมินในด้านบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 259 คน และกลุ่มที่ให้สัมภาษณ์เป็นครู และนักเรียน จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test

          ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านบริบท โรคเอดส์เป็นโรคที่เป็นภัยคุมคามต่อกลุ่มเยาวชน ส่งผลให้เกิดเจตคติและค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมและมีพฤติกรรมที่เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เอชไอวี ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า คณะทำงานมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการประชุมและร่วมกันกำหนดหัวข้อ เนื้อหา และกิจกรรมหลักสูตรโดยได้รับงบประมาณ และวิทยากรสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ และจัดอบรมขึ้นที่โรงพยาบาลสันป่าตอง ด้านกระบวนการ พบว่าเนื้อหาของกิจกรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและทักษะชีวิตเพื่อป้องกันให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ ผลเสียและผลกระทบโดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนในทุกกิจกรรม มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และในด้านผลผลิต พบว่านักเรียนสามารถนำทักษะชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเห็นด้วยในระดับมากที่สุดในการอบรมทักษะชีวิต ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการสอนทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข, 2545.

ยุพิน ชัยราชา. การใช้ชุดกิจกรรมการสอนความรู้ ความตระหนัก และทักษะชีวิตเพื่อป้องกันโรคเอดส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 5 วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.

ศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล. เหตุผลการตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.

กุลยา สุหร่ายพรหม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538.

Fisher, J.D. & Fisher, W. A. Changing AIDS risk behavior Psychological Bulletin, 1992. 11(3), 455-474.

อังสนา บุญธรรม. เปรียบเทียบปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศต่อการเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเขตชนบทกับเขตเมืองจังหวัดนครราชสีมา วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2539.

ราวรรณ์ ไกรเลิศ, สุพรรณี แซ่ซี้ และไพโรจน์ จันทรมณี, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สถานการณ์โรคเอดส์ประเทศไทย เล่มที่ 2, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข, 2546.

พุฒิพงศ์ มารกมาย. การประเมินหลักสูตรทักษะชีวิตสำหรับพนักงานขายบริการในสถานประกอบการกลางคืนในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. จำนวนผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการในเขต 10 (เอกสารอัดสำเนา). เชียงใหม่: สำนักงานควบคุมโรค, 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป