การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2550

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ยอดเรือน

คำสำคัญ:

การติดเชื้อเอชไอวี, นักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

             การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งศึกษาแนวโน้มของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้และความตะหนักเกี่ยวกับปัญหาเอดส์ของกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งเพศชายและเพศหญิงโดยใช้สถิติร้อนละ ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่านักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 ที่ศึกษาเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วร้อยละ 32.2 โดยนักเรียนชายเคยมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 34.0 นักเรียนหญิงเคยมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 29.4 นักเรียนชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.0 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 34.0 ในปี พ.ศ.2550 ในขณะที่อายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกลดลงจาก 15.4 ปี เหลือ 15.1 ปี นักเรียนหญิงมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกกับบุคคลที่รู้จักกันผิวเผินเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในปี พ.ศ.2547 เป็นร้อยละ 2.9 ในปี พ.ศ.2549 แต่ลดลงเหลือร้อยละ 1.4 ในปี พ.ศ. 2550 ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยความสมัครใจเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 70.8 ในปี พ.ศ.2547 เป็นร้อยละ 79.0 ในปี พ.ศ. 2550 นักเรียนชายและนักเรียนหญิงเคยมีประสบการณ์ใช้สารเสพติดร้อยละ 53.8 และ 23.7 ตามลำดับ และมีร้อยละ 74.4 ในนักเรียนชายและร้อยละ 61.1 ในนักเรียนหญิงเคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในขณะที่การมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด นักเรียนชายดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการร่วมเพศร้อยละ 49.3 นักเรียนหญิงดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการร่วมเพศร้อยละ 21.0 สำหรับความรู้และความตะหนักเกี่ยวกับเอดส์นั้นพบว่านักเรียนชายมีแนวโน้มของระดับความรู้และความตะหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์ลดลง โดยสามารถตอบถูกทุกข้อคำถามร้อยละ 17.5 ในปี พ.ศ. 2547 เหลือร้อยละ 16.4 ในปี พ.ศ. 2550 แต่ในนักเรียนกลับมีความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับโรคเอดส์เพิ่มสูงขึ้น โดยสามารถตอบถูกทุกข้อคำถามร้อยละ 16.0 ในปี พ.ศ.2547 และเพิ่มเป็นร้อยละ 25.1 ในปี พ.ศ. 2550 นักเรียนชายร้อยละ 40.5 นักเรียนหญิงร้อยละ 46.4 ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

          จากผลการศึกษาพบว่านักเรียนอาชีวศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรมีการแสวงหาความร่วมมือจากครู เครือข่ายองค์กรที่ปฏิบัติงานด้านเยาวชน รวมทั้งครอบครัวนักเรียน เพื่อรณรงค์ในกลุ่มเยาวชนทั้งชายและหญิง ให้มีความรับผิดชอบ ความตะหนักถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย (Safe sex) อีกทั้งยังบต้องหามาตรการ รูปแบบที่เหมาะสมในการให้เยาวชนเข้าถึงถุงยางอนามัยได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และควรมีการจัดตั้งคลินิกให้การปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อ HIV แก่กลุ่มเยาวชนโดยเฉพาะ

References

UNAIDS.2001.AIDS Epidemic Update December 2001. In Worldwide HIV&AIDS. Estimates. Available from: http://www.avert.org/wwstafes.htm.(2001,December/31).

คณะทำงานคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเอสด์. การคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2583. กรุงเทพมหานคร, 2544.

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการในประเทศไทย. วันที่ 31 ธันวาคม 2549,2549.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. การประเมินโครงการเกี่ยวการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์แห่งชาติ. นนทบุรี: กองโรคเอดส์. 2540.

งานควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สรุปสถานการณ์เอดส์จังหวัดเชียงใหม่. วันที่ 31 ธันวาคม 2549,2549.

พลเดช ปิ่นประทีป. AIDSUPDATEวิทยาการมันยุคจากเวทีการประชุม VANCOUVER. สุรศรีกราฟฟิค, 2539.

Kleinbaum DG, Kupper LL, Morgenstern H. Epidemiologic research New York: Van Nostrand Reinhold, 19820.

Lamesshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK. Adequancy of sample size in health study. Chichester: John Wiley&Sons Ltd., 1990.

ธรีรัตน์ เชมนะสิริ, ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มทหารกองประจำการ. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2547.

United Nation General Assembly Special Session on HIV/AIDS. Guidelines on construction of core indicators. Geneva: UNAIDS, 2002.

รัตนา ดอกแก้ว. ผลของการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอนามัยครอบครัว. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539.

สุชา จันทร์เอม. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2536.

ลาวัณย์ อมรรัตน์และธนรักษ์ ผลิพัฒน์. การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษา ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 ประเทศไทย พ.ศ. 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปีที่ 38 ฉบับที่ 27. 2550.

กาญจนา แก้วเทพ. มิติทางสังคมและวัฒนะรรมไทยเรื่องเพศกับปัญหาเอดส์. จากบทคัดย่อผลงานทางวิชาการ การสัมมนาโรคเอดส์แห่งชาติ ครั้งที่ 7. กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, 2542.

Washing A.E., Sweet R.L.,&Shafer,M.B. Pelvic inflammatory disease and it’s sequelae in adolescents. J Adolescents Health, 1995.

อัมพร นวารัตน์ และฉวีวรรณ ไวยเนตร. การศึกษาพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชาย-หญิงของจังหวัดแพร่ สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่, 2541.

ณัฐวดี วธีธรรม. ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมสรของนักเรียนวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2539.

จุฬาลักษณ์ ห้าวหาญ. พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนวัยรุ่นชายในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานินพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาการเจริญพันธุ์และวางแผนประชากร. บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล., 2539.

จันทณัช ทองศิริ. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น อ.เมือง จ.น่าน. รายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานการวิจัยประจำปี 2541 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2541.

RADAR Network State Center at Indianna University. Acohol and high risk sexual behavior. Available from: http://www.drugs.indiana.edu.publications/ncdar/misc/alerisk.html.

รณรุทธิ์ บุตรแสนคม. การรับรู้และพฤติกรรมการเสี่ยงต่อโรคเอดส์ของเยาวชนไทยนอกระบบโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2537.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป