สภาวะโรคฟันผุของนักเรียนชาวไทยภูเขาในโรงเรียนประถมศึกษาเขตตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรากร คุปติศาสตร์

คำสำคัญ:

โรคฟันผุ, งนักเรียนชาวไทยภูเขา, โรงเรียนประถมศึกษาเขตตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสภาวะทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนชาวไทยภูเขาในโรงเรียนประถมศึกษา เขตตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการสำรวจระหว่างพฤษภาคม – กรกฎาคม 2550 โดยข้อมูลทั่วไป และ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดโดยใช้เกณฑ์เหมือนกับที่ใช้สำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (อายุ 6 ปี) จำนวน 8 โรงเรียน (จำนวน 153 คน) และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อายุ 12 ปี) จำนวน 7 โรงเรียน (จำนวน 143 คน) พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 6 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอด อุดในฟันน้ำนมและฟันแท้ เท่ากับ 7.34 ซี่ต่อคน (S.D= 1.32) และ 0.88 ซี่ต่อคน (S.D= 0.59) ตามลำดับ และร้อยละ 44.93 ของฟันกรามซี่ที่ 1 มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ ในกลุ่มอายุ 12 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันแท้ ผุ ถอน อุด 4.51 ซี่ต่อคน (S.D= 1.07) จากการหาค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ของฟันน้ำนมและฟันแท้ ของเด็กนักเรียนในตำบลบ่อแก้ว มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กกลุ่มอายุเดียวกันในส่วนอื่นๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ และประเทศไทย โดยเด็กชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง มีอัตราการผุสูงสุดทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้ ดังนี้ การส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคฟันผุ ในเด็กชาวเขาเหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

References

Paunio P, Rautava P, Sillanpaa M, Kaleva O. Dental health habits of 3-year-old Finnish children. Community Dent Oral Epidemiol. 1993; 21: 4-7.

Mariri BP, Levy SM, Warren JJ, Berfus GR, Marshall TA, Brofitt B. Medically administered antibiotics, dietary habits, fluoride intake and dental caries experience in the primary dentition. Community Dent Oral Epidemiol. 2003; 31: 40-51.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ. 2543-2544. กรุงเทพมหานคร: 2545.

งานทันตสาธารณสุข กลุ่มงานส่งเสริมวิชาการและบริการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2546. เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม

Carlos JP, Gitterlsohm AM. Longitudinal studies of the natural history of caries-II : A life-table study of caries incidence in the permanent teeth Arch Oral Biol. 1965; 10: 739-751.

Cleanton – Jones P. dental caries trends in 5 to 6 year-old and 11 to 13 year-old children in two UNICEF designated regions: Sub-Saharan Africa, and Middle East and North Africa, 1970-2000.refualt Hapeh Vehasinayim. 2001; 18: 11-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป