ประเมินการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ โอภาสตระกูล
  • ดวงพร เตมีศักดิ์

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยวัณโรค, พี่เลี้ยงกำกับการกินยา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          ประเมินการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ผลกระทบ และปัญหาการดูแลผู้ป่วยวัณโรค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยวัณโรคที่มีผลเสมหะเป็นบวก ที่ได้รับการดูแลแบบมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา จำนวนผู้ป่วยวัณโรค 26 ราย และอาสาสมัครวัณโรค 26 ราย ในเขตเทศบาลตำบลสันมหาพน และเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนาโดยใช้แบบสอบถาม 52 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาด้านผลผลิตพบว่า อัตราการรักษาหาย และอัตราการเปลี่ยนของเสมหะ ได้ร้อยละ 100 อัตราการขาดยา และอัตราการรักษาล้มเหลวเป็นศูนย์

          ด้านผลกระทบคือ เรื่องความพึงพอใจของผู้ป่วยวัณโรคที่มีต่ออาสาสมัครวัณโรค คณะทำงานวัณโรคอำเภอแม่แตง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ประเมินและผลการศึกษาความพึงพอใจของอาสาสมัครวัณโรคที่มีต่อคณะทำงานวัณโรคอำเภอแม่แตง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยา ผลการประเมินอยูในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ประเมิน

          ปัญหาที่ได้จากการศึกษาที่พบมากที่สุดคือเรื่องการรับประทานยาของผู้ป่วยวัณโรคที่มีระยะเวลาที่ยาวนาน ยามีหลายชนิดและกลัวการแพ้ยา ส่วนปัญหาของอาสาสมัครที่พบคือ บางครั้งไม่มีเวลาที่จะให้การดูแลผู้ป่วยมาก การสื่อสารกับชาวบ้าน ภาระงานมาก และความต่อเนื่องของโครงการวัณโรค

          ผลลัพธ์ที่ได้จากการประสานแผนการดำเนินงาน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 จนถึงปัจจุบันปรากฎว่าอำเภอแม่แตงได้นำร่องในเรื่องการดูแลผู้ป่วยวัณโรคอย่างครบวงจร ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานและเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย

References

พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง Intensive TB care management. ห้องประชุมกรีนเลค เชียงใหม่ 16 มีนาคม 2549.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2541.

กลุ่มงานพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. การใช้ยุทธศาสตร์ DOTS ให้กว้างขวาง. พิมพ์ครั้งที่ 2, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2542.

กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางระดับชาติ: ยุทธศาสตร์การผสมผสานการดำเนินงานวัณโรคและโรคเอดส์เพื่อการควบคุมและป้องกันวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2546.

กลุ่มวัณโรค สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่1, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2548.

บัญญัติ ปรีชญานนท์, ชัยเวชนุชประยูร และสงคราม ทรัพย์เจริญ (บรรณาธิการ). หนังสือปราบวัณโรคฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง) สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยฯ โรงพิพม์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป