ผู้ป่วยกลุ่มอาการโลหิตเป็นพิษจากชุมชนในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์ กับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในระบบประกันสุขภาพ
คำสำคัญ:
กลุ่มอาการโลหิตเป็นพิษ, ระบบประกันสุขภาพบทคัดย่อ
กลุ่มอาการโลหิตเป็นพิษ (Sepsis syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อย ค่าใช้จ่ายสูง ในปีงบประมาณ 2547-2549 พบว่า มีผู้ป่วยที่เสียชีวิต และได้รับการวินิจฉัยรายโรคว่า Sepsis หรือ Septicemia เป็นอันดับ 1 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในด้านระบาดวิทยา เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยโลหิตเป็นพิษต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงลักษณะทั่วไป ปัจจัยเสี่ยง โรคร่วม จำแนกอาการทางคลินิก โรคแทรกซ้อน สาเหตุเชื้อก่อโรค การรักษาที่สำคัญ สาเหตุการเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการดูแล ของผู้ป่วยกลุ่มอาการโลหิตเป็นพิษจากชุมชนที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลนครพิงค์ ในปีงบประมาณ 2549 วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยทำการศึกษาย้อนหลังในเวชระเบียนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ที่ได้รับการวินิจฉัยรายโรคว่า Sepsis หรือ Septicemia โดยจะคัดเลือกเวชระเบียนที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยมาทำการศึกษา โดยเก็บรวบรวมผู้ป่วยที่รับตัวไว้ในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548-30 กันยายน 2549 โดยจะศึกษาข้อมูลทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการรักษา โรคร่วม ลักษณะอาการและอาการแสดงทางคลินิก ภาวะแทรกซ้อนโดยดูจากอวัยวะล้มเหลวแยกตามระบบ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ และสาเหตุการเสียชีวิต ผลการศึกษา: มีเวชระเบียนที่เข้าเกณฑ์ 167 เวชระเบียนเป็นชาย 121 ราย หญิง 46 ราย อายุเฉลี่ย 56±17.9 ปี กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดอายุมากกว่า 60 ปี 44.31% ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลอื่น 67.2% ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.33±3 วัน ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เบาหวาน ตับแข็ง และไตวายเรื้อรังตามลำดับ อาการแสดงที่พบบ่อยคือ ไข้หวานสั่น ชีพจรเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที และหายใจเร็วมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที ตามลำดับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พบบ่อยได้แก่ การทำงานของไตผิดปกติ 61.4% โลหิตจาง 52.63% และการทำงานของตับผิดปกติ 46.49% ตำแหน่งของการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ 35.96% ระบบทางเดินหายใจ 28.95% และระบบทางเดินอาหาร 1404% ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะโลหิตเป็นพิษช็อค (Septic shock) 77.2% ไตวายเฉียบพลัน 64.91% และระบบหายใจล้มเหลว 63.15% ผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะอวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบ (Multi-organ failure) ผลการเพาะเชื้อในกระแสเลือดให้ผลบวกเพียง 18.01% ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยคือ Ceftriaxone 25.44% และมีการใช้สูตรยาปฏิชีวนะมากกว่า 1 ตัว 60.38% ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยก่อนเสียชีวิตเฉลี่ย 37,901 บาท ในปีงบประมาณ 2549 เมื่อไล่ย้อนหลัง 2 ปี พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สรุป: ผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่ได้รับการวินิจฉัยว่า Sepsis ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ชายมากกว่าหญิงและถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลอื่น ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตับแข็งและไตวายเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ส่งมาส่วนใหญ่มีภาวะอวัยวะล้มเหลวมากกว่า 2 แห่ง ซึ่งอัตราตายจะมากกว่า 70% และผลเพาะเชื้อในกระแสเลือดเป็นบวกต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป จึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการในการส่งต่อผู้ป่วยในแง่ การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ และการให้การรักษาเบื้องต้นอย่างถูกต้อง รวดเร็ว
References
Greg SM, David MM, Stephenie E, et al. The epidemiology of sepsis in the United State from 1979 through 2000. N Eng JMed 2003;348(16): 1546-54.
Aird WC, The role of the endothelium in severe sepsis and multiple organ dysfunction syndrome. Blood. 2003; 10(10):3765-3777.
Ministry of Public Health Bureau of Policy and strategy Office of the Permanent Secretary, Thailand International statistical classification of diseases and related health problems tenth revision (Thai modification) volume 5 standard coding guidelines. 2nd .ed. Bangkok: Ministry of Public Health; 2006.
Bone RC, Balk RA, Cerra FB, et al. Definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. Chest 1992;101: 155-65.
Rangel-Frausto MS, Pitter D, Costigan M, et al. The natural history of systemic inflammatory response syndrome(SIRS). JAMA 1995’ 273:117-23.
Annane D, Bellissant E, Cavaillon JM. Septic shock. Lancet 2005; 365: 63-78.
American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine. Consensus Conference: Definitions of sepsis and organ failure and guidelines for use of
innovative therapies in sepsis. Crit Care Med 1992;20:864-74.
Ispahani P, Pearson NJ, Greenwood D. An analysis of community and hospital acquired bacteremia in a large teaching hospital in the United Kingdom. Q J Med 1987;63:427-40.
Williams ME, Age-related physiologic changes. In Beck JC. (edi), Geriatric Review Syllabus 1991-1992. New York: American Geriatric Society;1992.13-4
MacLennan WJ., Watt B., Elder AT. Ageing, ill health and immunological function. In MacLennan WJ Watt B, Elder AT, (eds), Infections in Elderly Patients 1994. London: Edward Arnold.
วิโรจน์ คงสวัสดิ์. ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโลหิตเป็นพิษจากชุมชนในโรงพยาบาลศรีสะเกษ พ.ศ. 2547. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2548;20: 33-49.
ยงค์ วงศ์รุ่งเรือง. โรคติดเชื้อในผู้ป่วยเบาหวานและการดูแลรักษา. ใน: อมร ลีลารัศมี, วินัย รัตนสุวรรณ และธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. An Update on Infectious Diseases. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมานคร: สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย; 2550. 317-23.
นฤมล พงษ์ศรีเพียร, สมนึก สังฆานุภาพ, การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคตับแข็ง. ใน: พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ และชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย: 2548. 1095-9.
Richard S Hotchkiss., Irene E. Karl. The Pathophysiology and Treatment of Sepsis. N Engl J Med 2003; 348: 138-50.
Robert ?W Schrier., Wei Wang, Mechanism of Disease: Acute Renal Failure and Sepsis. N Engl J Med 2004; 351: 159-69.
French GL., Cheng AF., Duthie R., Cockram CS. Septicemia in Hong Kong. J Antimicrob Chemother 1990; 25 Suppl C: 115-25.
Yu DT., Black E., Sands KE., Schwartz JS,, Hibberd PL., Graman PS., et al. Severe sepsis: variation in resource and therapeutic modality use among academic centers. Crit Care 2003; 7:R24-R32.
ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์, อมร ลีลารัศมี. การดื้อยาของแบคทีเรียทรงแท่งกรัมลบที่ก่อโรค. ใน: อมร ลีลารัศมี, วินัย รัตนสุวรรณ และธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. An Update on Infectious
Diseases. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย; 2550: 1-16.