การศึกษาประสิทธิภาพทราบเคลือบสารเคมีทีมีฟอสหมดอายุในการควบคุมลูกน้ำยุงลายอีจิปไตย

ผู้แต่ง

  • ทวีศักดิ์ ศรีวงค์พันธ์
  • สัมพันธ์ ดอนอินผล

คำสำคัญ:

ทรายทีมีฟอส, ลูกน้ำยุงลาย

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้ เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการในเดือนมีนาคม 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบประสิทธิภาพของทราบทีมีฟอสที่หมดอายุแล้ว ในการฆ่าลูกน้ำยุงลายชนิดอีจิปไตย (Aedes aegypti) โดยตรวจสอบอัตราการตายของลูกน้ำยุงลายอีจิปไตย ในแต่ละช่วงเวลา ลูกน้ำยุงลายที่ศึกษาเก็บจากพื้นที่บ้านป่ายางมน ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ทำการวินิจฉัยและคัดเลือกเฉพาะลูกน้ำยุงลายชนิดอีจิปไตย ระยะที่ 3-4 มาทำการทดลอง ทดสอบกับทราบเคลือบสารเคมีทีมีฟอสที่หมดอายุแล้ว ได้รับจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.3 เชียงราย ชนิด 1 % และ 2% SG และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ชนิด 1% SG ใช้ลูกน้ำยุงลายอีจิปไตย จำนวน 200 ตัว โดยแบ่งทดสอบสารเคมี ละ 50 ตัว และทดลองควบคุม (Control) สังเกต และบันทึกจำนวนลูกน้ำยุงลายทุก 30 นาที โดยทำการทดสอบ 3 ชั่วโมง (180 นาที) พบว่า ทรายทีมีฟอสหมดอายุทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ทรายทีมีฟอส 1% SG จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ทรายทีมีฟอส 2% SG จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.3 จังหวัดเชียงราย ออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายให้ตายได้ภายใน 60 นาที โดยอัตราการตายอยู่ที่ ร้อยละ 16.0๖8/50๗. 26.๖13/50๗ และร้อยละ 10๖5/50๗ ตามลำดับ ในระยะเวลา 90 นาที ทรายทีมีฟอส ทั้ง 3 ชนิด สามารถฆ่าลูกน้ำยุงลายได้มากกว่าร้อยละ 50 ของลูกน้ำทั้งหมด และในเวลา 150 นาที พบว่าทรายทีมีฟอสชนิดความเข้มข้น 1% ขนาดใช้ 1 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร สามารถฆ่าลูกน้ำยุงลายได้ 100% และทรายทีมีฟอส 2% SG ขนาดใช้ 0.5 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร ฆ่าลูกน้ำยุงลายให้ตาย 100% ได้ภายในเวลา 180 นาที ทรายทีมีฟอสที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นทรายที่ผลิตมาแล้วนานกว่า 3 ปี คือผลิตในปี พงศ. 2544 และปี พ.ศ. 2545 ยังคงมีประสิทธิภาพฆ่าลูกน้ำยุงลายอีจิปไตยให้ตาย 100% ได้ภายใน 180 นาที

References

ศิริชัย วงศ์วัฒนไพบูลย์.สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2547. สำนักระบาดวิทยาท. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

ศิริพร ยงชัยตระกูล และคาวุฒิ ฝันเทียะ . ประสิทธิภาพการใช้สารเคลือบทรายทีมีฟอสในรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง. 2547; 1:53-58.

วรรณภา สุวรรณเกิด. การเฝ้าระวังทางกีฎวิทยาไข้เลือดออก 13 จังหวัด ภาคเหนือของประเทศไทย.เชียงใหม่:เดอะฟิวเจอร์พรินท์,2539: 1-209.

อนุ บัวเฟื่องกลิ่น และมานิตย์ มาคสุวรรณ. การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กำจัด ลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำขังที่มีการใช้น้ำหมุนเวียน. วารสารมาลาเรีย. 2546; 38: 250-253.

คัณัจฉรีย์ ธานิสพงศ์. สีวิกา แสงธาราทิพย์ และนิภา น้อยเลิศ. การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย. วารโรคติดต่อนำโดยแมลง. 2547; 1: 43-51.

ศิริพร ยงชัยตระกูล, สมบัติ อุนนกิตติ และคาวุฒิ ฝา สันเทียะ. การศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีเม็ดเกล็ดละลายเคลือบทีมีฟอส ความเข้มข้น 1% ที่พบในพื้นที่สาธารณสุขเขต 2 ต่อลูกน้ำยุงลาย Aedes aegypti Linnaeus. วารสารมาลาเรีย. 2546; 38: 119-123.

รศ.ดร.ปรัชญา สมบูรณ์. กุญแจลูกน้ำยุงลายก้นปล่องที่พบในประเทศไทย.ภาควิชาปรสิตวิทยา.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2547: 1-23. เอกสารอัดสำเนา.

กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวินิจฉัยลูกน้ำยุงลายก้นปล่องในประเทศไทย.เอกสารหมายเลข 2. 2524: 1-67.

http://www.dhf.moph.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป