การศึกษาผลการปรับปรุงรูปแบบการปฏิบัติ การดำเนินการประกันคุณภาพการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค ด้วยกล้องจุลทรรศน์ของโรงพยาบาลในเขตจังหวัดภาคเหนือปีงบประมาณ 2549

ผู้แต่ง

  • วรศักดิ์ สุทาชัย
  • วิรัช นิรารุทย์

คำสำคัญ:

การประเมินผล, ระบบการประกันคุณภาพการตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์

บทคัดย่อ

                การประกันคุณภาพการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์เป็นการดำเนินงานที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยเรื่องคุณภาพด้านชันสูตรสำหรับการรักษาวัณโรค โดยใช้สูตรยารักษาวัณโรคแบบช่วงสั้นภายใต้กลยุทธการใช้พี่เลี้ยงกำกับการกินยา DOTS (Directly Observed Treatment, Short Course) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน เพื่อคงคุณภาพการตรวจวินิจฉัยวัณโรคที่ดีอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2549 ได้ปรับรูปแบบการดำเนินการพร้อมศึกษาผลดำเนินงาน และประเมินผล วิธีการปฏิบัติคือสุ่มสไลด์เสมหะหาเชื้อวัณโรคที่ทราบผลแล้วด้วยเทคนิคการสุ่มตรวจที่มากพอในแต่ละชุม (Lot quality assurance sampling) จากโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือ 8 จังหวัด มาอ่านผลซ้ำอีกครั้งโดยกลุ่มงานชันสูตรกลาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 ดำเนินการ ณ ศูนย์วัณโรคเขต 10 แล้ว รายงานผลตอบกลับแก่โรงพยาบาลในเขต พร้อมกระตุ้นเตือนให้มีความระมัดระวังในการตรวจยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาผลการตรวจ และหาสาเหตุ วิเคราะห์ปัจจัย ข้อผิดพลาดต่างๆ เนื่องจากสไลด์จำนวนมากได้ปรับรูปแบบการดำเนินการโดยสไลด์อีกส่วนหนึ่งจ้างเหมาเอกชนช่วยอ่านผลโดยควบคุมกำกับคุณภาพ ให้ส่งสไลด์และดำเนินงานที่ศูนย์วัณโรคเขต 10 ที่เดียว แทนที่จะกระจายให้โรงพยาบาลแม่ข่าย พร้อมลดขั้นตอนการสุ่มสไลด์จาก 3 ช่วงต่อปี เป็น 1 ช่วงต่อปี จากนั้นทำการสรุปภาพรวม ดูผลกระทบ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ วิธีแก้ปัญหา ต่อการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาปีงบประมาณ 2549 ผลการศึกษา พบว่าเมื่อปรับรูปแบบการดำเนินงานแล้ว มีโรงพยาบาลเข้าอยู่ในระบบการประกันคุณภาพการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์เพิ่มมากขึ้น การจ้างเอกชนช่วยดำเนินการทำให้มีกำลังความสามารถในการตรวจเพิ่มขึ้น สามารถตรวจได้ครอบคลุมในปี 2549 ทั้งหมด 90 โรงพยาบาลจากจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด 97 โรงพยาบาล จากเดิมที่ใช้โรงพยาบาลแม่ข่ายในปี 2547-2548 ตรวจ ได้ครอบคลุม 50 และ 42 โรงพยาบาล ตามลำดับ การลดขั้นตอนการสุ่ม ทำให้การสุ่มได้รับการตอบรับ โรงพยาบาลได้รับความสะดวกมากขึ้น ความสามารถในการผ่านเกณฑ์ประเมินโดยรวมทั้งปี ทั้งหมด 75 โรงพยาบาล คิดเป็นผลสำเร็จของการผ่านการประเมิน 83% พบความผิดพลาดเกินมาตรฐาน 6 โรงพยาบาล หรือ 7% ส่งไม่ครบตามจำนวนแต่ไม่พบความผิดพลาด 13 โรงพยาบาล พบความผิดพลาด 1 โรงพยาบาล ดังนั้นปัจจัยความสำเร็จจึงอยู่ที่กำลังคน หรืองบประมาณที่เพียงพอ การติดตามเร่งรัดการสุ่มเก็บสไลด์ การลดขึ้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนความร่วมมือ ความตั้งใจ ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

References

Van Deun A, Roorda FA, Chambugonj N, Hye A, Hossain A. Reproducibility of sputum smear examination for acid – fast bacilli practical problems met during cross checking. Int J tuberc Lung Dis 1999; 3(9): 823-829.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klat J, Lwanga SK. Lot quality assurance sampling pp 24-28 in : Lemeshow S, Hosmer DW, Klat J, Lwanga SK. Adequacy of sample siz3 in health studies, John Wiley&Sons (on behalf of WHO) 1990.

Lemeshow S, Taber S, Lot quality assurance sampling single and double plans. Wld hlth Statest Quar: 1991; 44(3): 115-132.

Aziz M.A., Ba F., Becx-Bleumink M., Brezel G., et al. External quality assessment for AFB microscopy. Washington DC: Association of Public Health Laboratories (PHP, CDC, IUATLD, KNCV, RIT,) 2002. Page 85-109.

Nguyen TNL, Wels CD, Binkin NJ, Beccera JE, Pham DL, Nguyen VC. Quality Control of smear microscopy for acid fast bacilli : the case for blinded. Int J Tuberc Lung Dis 1999; 3(1): 55-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป